13/9/53

vampire

ตำนาน " แวมไพร์ "





ตำนานแวมไพร์มีมานานนับเป็นพันๆ ปี เรียกว่าอยู่คู่กับประวัติศาสตร์มนุษย์ก็คงจะได้ แวมไพร์มิ ได้หมายถึงผีดูดเลือดแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ชนชาติต่างๆ ทั่วโลกต่างก็มีแวมไพร์ในแบบฉบับของ ตัวเอง ไล่ไปตั้งแต่แวมไพร์ฝรั่งผมบลอนด์ แวมไพร์จีน แวมไพร์ญี่ปุ่น ไปจนถึงแวมไพร์มาเลเซีย แบบ ที่เรียกกันว่า เพนังกะลัง อย่างไรก็ตาม แวมไพร์ที่เราๆ ท่านๆ คุ้นเคยกัน ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะกลาย พันธุ์ และภาพลักษณ์ไปหมด ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจาก อิทธิพลของหนังสือและภาพยนตร์ ซึ่งร้อยทั้ง ร้อย ล้วนมาจากยุโรปและอเมริกาทั้งสิ้น จุดกำเนิดของตำนานแวมไพร์มาจากตะวันออกไกลครับ มัน กระจายมาโดยผ่านเส้นทางจากจีน - ธิเบต - อินเดีย - ผ่านเส้นทางที่เรียกกันว่าทางสายไหมเข้าสู่แถบ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตำนานนี้กระจายไปทั่วประเทศแถบทะเลดำ คาบสมุทรบอลข่าน รวมไปถึงฮังการี และดินแดนที่เราคุ้นเคยกัน …ทรานซิลวาเนีย

ปัจจุบัน แวมไพร์ในความนึกคิดของเรามักจะเป็นไปในแนวของ ปีศาจดูดเลือด, ผู้ที่ฟื้นคืนชีพจาก ความตาย, ดำรงชีวิตได้เฉพาะยามค่ำคืน สามารถกลายร่างเป็นค้างคาวได้… คุณสมบัติพวกนี้เป็นแวม ไพร์ของยุโรป และในหนังผีครับ จริงๆ แล้วแวมไพร์มีคุณสมบัติที่หลากหลายแตกต่างกันไปในแต่ละ พื้นที่ เรามาดูกันดีกว่าว่า แวมไพร์ของแต่ละชนชาตินั้นเป็นอย่างไร SLAVIC VAMPIRES




ชาวสลาฟเป็นชาติที่ร่ำรวยเรื่องราวเกี่ยวกับแวมไพร์มากที่สุดในยุโรปตะวันออก ดินแดนนี้กิน พื้นที่ตั้งแต่ รัสเซีย บุลแกเรีย เซอร์เบียร์ จนกระทั่งถึงโปแลนด์ ความเชื่อพวกนี้ฝังรกรากมาตั้งแต่ ศตวรรษที่ 8 แน่ะครับ แหล่งชุมนุมแวมไพร์ที่ใหญ่ที่สุดจะอยู่ที่ เมือง Magyars ซึ่งปัจจุบันเป็นพรมแดน ต่อกันระหว่างประเทศฮังการีกับโรมาเนีย คำว่าแวมไพร์ก็มาจากภาษาของพวกเขานี่แหละครับ แวมไพร์ พวกนี้จะมีเล็บมือและผมที่ทั้งยาวทั้งสกปรก มุมปากมีคราบเลือดเกรอะกรัง ไม่ชอบสุงสิงกับผู้คน วิธี การปราบแวมไพร์ของชาวสลาฟก็คือจับทำบาร์บีคิวครับ เผาทั้งเป็นเลย หรือไม่ก็พรมน้ำมนต์ที่ได้มา จากโบสถ์ใส่พวกมันก็ได้ROMANIA
เนื่องจากโรมาเนียถูกแวดล้อมไปด้วยประเทศของชนชาติสลาฟ จึงไม่น่าแปลกใจเลย ว่าแวม ไพร์ของพวกเค้าจะกระเดียดไปทางแวมไพร์เชื้อสายสลาฟนิดๆ ภาษาพื้นเมืองของโรมาเนียนั้น เรียก แวมไพร์ว่า Strigoi ครับ อาจจะหมายถึง นกฮูกแก่ๆ หรือปีศาจก็ได้ทั้งนั้น Strigoi มีอยู่หลายประเภทด้วย กัน Strigoi ส่วนมากคือพวกผู้ใช้คาถา ซึ่งจะกลายเป็นแวมไพร์เมื่อตายแล้ว เจ้า Strigoi พวกนี้จะถอด วิญญาณออกจากร่างไปเพื่อชุมนุมกันในคืนพระจันทร์เต็มดวง หรือไม่ก็ออกตระเวนดูดเลือด ซึ่งส่วน ใหญ่จะเป็นสมาชิกในครอบครัว หรือไม่ก็เพื่อนบ้านใกล้เคียง คนที่เกิดมาโดยมีสัญญลักษณ์ของปีศาจ (มีหาง เขี้ยวงอก ขนดกรุงรัง) หรือคนที่ตายอย่างผิดธรรมชาติ หรือตายโดยที่ยังไม่ได้ทำพิธีรับศีล พวก นี้มีสิทธิจะเป็นแวมไพร์ได้ทั้งนั้น ถ้าครอบครัวไหนมีลูกเพศเดียวกันถึงเจ็ดคน คนที่เจ็ดนั่นแหละครับ แวมไพร์มาเกิด พวกผู้หญิงแถวนั้นเวลาท้องพวกเธอต้องกินเกลือครับ เพื่อป้องกันลูกที่อยู่ในครรภ์ ส่วนพวกสุดท้ายที่มีสิทธิเป็นแวมไพร์ชัวร์ๆ คือพวกที่โดนแวมไพร์กัดเอา ยังมีตำนานอีกเรื่องหนึ่งที่ เกี่ยวพันกับเรื่องของแวมไพร์อย่างใกล้ชิดครับ คิดว่าเราๆ ท่านๆ ก็คงคุ้นเคยกัน นั่นคือเรื่องราวของมนุษย์ หมาป่านั่นเอง ตำราเค้าว่าไว้ว่ามีมนุษย์พวกหนึ่ง เมื่อถึงวันดีคืนดี จะมีปฏิกิริยากับดวงจันทร์ หรือดวง อาทิตย์ จนสามารถกลายร่างเป็นหมาป่า หมาดำ หรือแม้แต่หมูได้ สิ่งกลายพันธุ์พวกนี้ศัพท์วิชาการเค้า เรียก Lycanthropy ครับ ชาวโรมาเนียมีตำนานเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้มากมายพอๆ กับแวมไพร์เลยทีเดียว ว่ากันว่าแวมไพร์นั้นจะแหวกหลุมศพขึ้นมาบนพื้นโลกเมื่อถึงเวลาอันควร มันมีใบหน้าที่ซีดเซียว ลม หายใจเหม็นเปรี้ยว และไม่ยอมแตะต้องอาหารที่มีส่วนประกอบของกระเทียมอย่างเด็ดขาด บ้านใดที่ สงสัยว่าสมาชิกในครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้วจะกลายเป็นแวมไพร์มักจะไปเปิดหลุมศพดูว่าศพยังอยู่ หรือไม่ เค้ามีเวลาในการสำรวจหลุมศพดังนี้ครับ ถ้าเป็นเด็กก็สามปีหลังการตาย ห้าปีสำหรับหนุ่มสาว และเจ็ดปีถึงจะเปิดสำหรับผู้ใหญ่ที่โตแล้ว วิธีสังหารแวมไพร์ดูจะคล้ายๆ กันทุกที่เลยครับ กล่าวคือ เมื่อ ชาวโรมาเนียพบหรือสงสัยว่าใครเป็นแวมไพร์ จะโดนจับเอากระเทียมยัดจนเต็มปากแล้วเอามาเผาไฟ หลุมศพใดที่ต้องสงสัยว่าเป็นแหล่งพำนักกายของแวมไพร์ก็จะมีการยิงกระสุนเงินทะลุฝาโลงเข้าไป ถ้า ถูกแจ็คพอทเจอแวมไพร์ โลงนั้นจะมีไฟลุกพรึ่บดูสวยงามทีเดียวเชียวครับ GYPSIES AND VAMPIRES





สำหรับคอหนังแล้ว ยิปซีดูจะเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับหนังผีดูดเลือดเลยจริงๆ เรียกได้ว่าเป็น ดารารับเชิญมันทุกเรื่องไป ในตำนานก็เช่นกันครับ ยิปซีมีบทบาทกับแวมไพร์อย่างใกล้ชิด วรรณกรรม ชื่อดังของ บราม สโตเกอร์ ที่ชื่อ"แดร็คคิวล่า"นั้น ก็ได้กล่าวถึงสาวยิปซีที่คอยดูแลโลงของแดร็คคิวล่า อย่างจงรัก ในความเป็นจริง ชาวยิปซีมีต้นกำเนิดมาจากอินเดียทางตอนเหนือ และอพยพย้ายถิ่นฐาน เรื่อยมาจนเข้ามาถึงยุโรปราวๆ ศตวรรษที่ 14 ไล่เลี่ยกันกับการถือกำเนิดของจอมทรราชย์ วลาด แดร็คคิว ล่าครับ ความเชื่อทางศาสนาและพิธีกรรมอันเร้นลับของชาวยิปซีมีอิทธิพลกับยุโรปในตอนนั้นไม่น้อย โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องวิญญาณและโลกหลังความตาย ไม่นานนัก ตำนานต่างๆ ที่เล่าขานกันมาในหมู่ ยิปซีก็ถูกผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องเล่าของยุโรปแถบโรมาเนียและตุรกี แน่นอน เรื่องเหล่านี้รวม เรื่องแวมไพร์เข้าไปด้วย บ้านเดิมของเหล่ายิปซี อินเดีย แหล่งรวมแห่งปรัชญาตะวันออก ที่นี่มีเรื่องเล่า ลือและตำนานเกี่ยวกับสิ่งที่คล้ายแวมไพร์อยู่มากมาย เป็นต้นว่าภูต(Bhuta) วิญญาณของคนที่ตายแบบ ผิดปกติชนิดวิญญาณยังสิงสู่อยู่ในร่าง ภูตเหล่านี้จะเดินท่อมๆ ไปตามถนนสายเปลี่ยวในยามค่ำคืน คอย ทำร้ายและดื่มเลือดมนุษย์เป็นอาหาร แวมไพร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอินเดียเห็นจะได้แก่ Kali หรือ เจ้าแม่กาลีนั่นเอง นางนับเป็นภาคหนึ่งของพระแม่ทุรคา กาลีมีรูปร่างที่ดุร้าย สวมสายสังวาลย์ที่ทำจาก หัวกะโหลก เจ้าแม่กาลีนี้เองที่เป็นต้นกำเนิดเรื่องราวของยิปซีแวมไพร์ เพราะความเชื่อและศรัทธาใน ตัวพระนางยังติดอยู่กับชาวยิปซีแม้ว่าพวกเขาจะข้ามน้ำข้ามทะเลย้ายรกรากมานับร้อยๆ ปีแล้วก็ตาม นามของกาลีจะเปลี่ยนไปตามการเรียกของยิปซีแต่ละสาย แวมไพร์ของชาวยิปซีมีอยู่ตัวหนึ่งชื่อมุลโล ครับ มีพฤติกรรมที่น่าสนใจเอามากๆ อันว่าเจ้ามุลโลนี้ส่วนมากจะเป็นประเภทผีล้างแค้น กลับมาจาก ความตายเพื่อทวงหนี้จากศัตรูคู่แค้นด้วยการสูบเลือดเป็นอาหาร แวมไพร์ที่เป็นผู้หญิงยิ่งน่ากลัวใหญ่ เลยครับ แวมไพร์พวกนี้สามารถมีชีวิตอย่างคนธรรมดาและดำรงชีพด้วยการกินเรี่ยวแรงสามีจนทำให้ พวกเขากระปลกกระเปลี้ย แวมไพร์ของยิปซีนั้นไม่ได้มีแค่คนตายเท่านั้น สัตว์เลี้ยงหรือผักผลไม้ก็เป็น แวมไพร์ได้ทั้งนั้น ฟักทองและแตงกวาที่ถูกทิ้งไว้ในบ้านนานๆ โดยไม่มีใครกินนี่ก็ด้วย วันดีคืนดีมันจะ เคลื่อนไหวได้เอง ส่งเสียงอึกทึกและมีเลือดหยดไหลออกมาเป็นทางดูน่าสยดสยองมาก ค้างคาว

หลายครั้งหลายคราวที่มีการพาดพิงถึงแวมไพร์ สมาชิกกิตติมศักดิ์ที่มักจะโดนลากเข้ามามีเอี่ยว ด้วยก็คือค้างคาว ไม่มีพยานหลักฐานใดๆ มาพิสูจน์ได้ว่าแวมไพร์กับค้างคาวเกี่ยวข้องกันยังไง แต่ กระนั้นตำนานของแวมไพร์และค้างคาวก็ยังมีคู่กันแบบแยกไม่ออกเหมือนกาแฟกับคอฟฟี่เมทนั่นเชียว ตำนานของค้างคาวมีมากมายกระจัดกระจายไปทุกซีกโลก ในแอฟริกาใต้ มีเรื่องเล่าของคามาโซตซ์ เจ้าแห่งค้างคาวที่อาศัยในถ้ำยักษ์ใต้พิภพ ในยุโรปเองค้างคาวและนกเค้าแมวมักจะถูกโยงใยเข้ากับ เรื่องลี้ลับเหนือธรรมชาติอยู่บ่อยๆ นั่นคงเป็น เพราะเสียงของมัน ฟังดูน่ากลัว และ พบเห็นได้เฉพาะ ตอนกลางคืน มนุษย์เรากลัวความมืดเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนี่ครับ เลยจับเอานกเค้าแมวและค้างคาวเหมา รวมเข้าไปกับผู้ที่ชอบหลบเร้นในความมืด(ก็ผะ-อี๋ น่ะแหละ)ซะเลย อีกสาเหตุหนึ่งที่ค้างคาวเข้ามายุ่ง เกี่ยวกับตำนานแวมไพร์น่าจะมาจากพฤติกรรมของมัน มีค้างคาวอยู่สามสปีชี่ส์ที่ดูดเลือดของสัตว์อื่นกิน เป็นอาหาร ถิ่นฐานของพวกมันอยู่ในทวีปแอฟริกาครับ เจ้าค้างคาวพวกนี้สร้างความหวาดกลัวให้กับ ทหารสเปนในยุคล่าอาณานิคมเป็นอย่างมาก เมื่อกลับมาถึงยุโรป ตำนานของค้างคาวดูดเลือดยิ่งถูก เติมสีใส่ไข่ให้น่าฟังโดยเหล่ากลาสี ค้างคาวเลยกลายเป็นส่วนหนึ่งของแวมไพร์ไปด้วยประการฉะนี้ แถมนับว่าความเชื่อนี้ก็มีแต่จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ แม้กระทั่งนักเขียนใหญ่อย่าง แบรม สโตเกอร์ กับ มัล คอม ไรห์เมอร์ก็ยังเอากับเขาด้วยเลยนี่ครับ



โรคตื่นแวมไพร์ในศตวรรษที่ 18


ตำนานแวมไพร์เป็นที่คุ้นเคยกับซีกโลกต่างๆ มานมนาน แต่เชื่อมั๊ยครับว่าอังกฤษเพิ่งรู้จักแวม ไพร์เอาเมื่อศตวรรษที่ 18 นี้เอง ช่วงนั้นโรคกลัวแวมไพร์ระบาดหนักในยุโรปตะวันออกลามมาถึงอังกฤษ ชาวบ้านชาวช่องกลัวกันมาก ขนาดเดินไปไหนมาไหนยังต้องมีพวงกระเทียมแขวนคอไปด้วย มีการโต้ เถียงกันระหว่างกลุ่มผู้นำว่าเรื่องนี้เป็นไปได้จริงหรือไม่ และควรใช้นโยบายใดทำให้บ้านเมืองสงบลง สมัยนั้นการสื่อสารยังไม่เจริญนัก แต่ก็น่าแปลกที่ข่าวลือกระจายข้ามประเทศอย่างรวดเร็ว บางเรื่องก็เป็น ตลกร้ายที่เหลือเชื่อเอามากๆ เช่นกองทัพแวมไพร์บุกเข้าพระราชวังในฮังการีเล่นงานจนทหารและคน ในวังเป็นแวมไพร์กันหมด แม้แต่ข่าวที่ว่าพระราชวังเครมลินเต็มไปด้วยแวมไพร์ก็ยังมีออกมา ของแถม ที่มากับข่าวลือก็คือการออกล่าแวมไพร์ มีคนถูกย่างสดไม่เว้นแต่ละวันในข้อหาเป็นแวมไพร์ หลายราย ถูกทรมานอย่างทารุณก่อนเอาลิ่มตอกอก สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความหวาดกลัวแวมไพร์ของชาวยุโรปได้ เป็นอย่างดี ไม่ว่าแวมไพร์จะมีจริงหรือไม่ก็ตาม เจ้าสิ่งนี้ถือเป็นตัวเสนียดขนานแท้เพราะแม้แต่ตำนาน ของมันก็ยังสร้างจุดด่างในประวัติศาสตร์เอาไว้มากมาย




( สุดท้ายขอจบด้วยตำนานสุดโปรดของไรเตอร์ จบกันด้วยภาพตำนานความรัก
         ระหว่างเอ็ดเวิร์ด Vampire สุดหล่อ กับ สาวน้อยเบลล่าผู้น่ารัก อิ อิ )
 




















































1/9/53

รัฐบาลไทย (คณะรัฐมนตรี)


นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย

เป็นตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลของประเทศไทย โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ว่า ต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงจะขึ้นดำรงตำแหน่งได้ และอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ ตามแต่รัฐธรรมนูญที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น
ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยคนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา และคนปัจจุบัน คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งรับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2551 หลังจากได้รับการเลือกในสภาด้วยคะแนน 235 ต่อ 198 (พลตำรวจเอกประชา พรหมนอก) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้น บัญญัติให้มีขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยเรียกว่า ประธานคณะกรรมการราษฎร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 และภายหลังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 ตำแหน่งดังกล่าวจึงได้เปลี่ยนเป็น นายกรัฐมนตรี

การดำรงตำแหน่ง

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ว่าเมื่อได้รับการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้วต้องได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงจะขึ้นดำรงตำแหน่งได้ และอาจเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือไม่ก็ได้ ตามแต่รัฐธรรมนูญที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนั้น
นายกรัฐมนตรีส่วนใหญ่มักจะเป็นตัวแทนหรือหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับเลือกมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร แม้รัฐธรรมนูญจะมิได้บัญญัติไว้เช่นนั้นก็ตาม

การปฏิบัติหน้าที่

ธงประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย ตามพระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2522
นายกรัฐมนตรีจะมีวาระการทำงานทั้งสิ้น 4 ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกินกว่า 8 ปีมิได้
นายกรัฐมนตรีสามารถพ้นจากตำแหน่งได้จากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยจะต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด มีสิทธิเข้าชื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ญัตตินี้ต้องเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนต่อไปไว้ด้วย เมื่อได้มีการเสนอญัตติแล้วจะมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรมิได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้นายกรัฐมนตรีหลีกหนีการอภิปราย เว้นแต่จะมีการถอนญัตติหรือการลงมตินั้นไม่ได้เสียงครบ หากสมาชิกรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งมีผลให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งด้วย

สถานที่ปฏิบัติงานและบ้านพัก

 

นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (ยกเว้น นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ซึ่งปฏิบัติงานที่อาคารสำนักงาน และอาคารรับรองพิเศษ ท่าอากาศยานดอนเมือง) จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายในทำเนียบรัฐบาล ซึ่งเป็นสถานที่ราชการสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 27 ไร่ 3 งาน 44 ตารางวา
สำหรับบ้านพักประจำตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คือบ้านพิษณุโลก ซึ่งมีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ออกแบบและสร้างโดย มาริโอ ตามานโญ สถาปนิกประจำราชสำนักสยามชาวอิตาลี มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน

 

รองนายกรัฐมนตรี

รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ที่จะปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ในเวลาที่นายกรัฐมนตรีมีเหตุทำให้ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้หรือมีหน้าที่อื่นให้ปฏิบัติ เช่น เดินทางไปประชุมที่ต่างประเทศ ลาราชการ พ้นจากตำแหน่ง เป็นต้น

นายกรัฐมนตรีคนที่ 1 พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)



พระยามโนปกรณนิติธาดาชื่อเดิมว่า "ก้อน หุตะสิงห์" เกิดที่จังหวัดพระนคร เมื่อวันที่

15 กรกฎาคม 2427 เวลา 11.20 น. เป็นบุตรของนายฮวดกับนางแก้ว หุตะสิงห์ สมรสกับ

คุณหญิงมโนปกรณนิติธาดา (นิตย์ สามเสน)

เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่วัดราชบูรณะ (วัดเลียบ) จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบ

วิทยาลัย โรงเรียนอัสสัมชัญวิทยาลัย และโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ตามลำดับ จนสำเร็จ

เป็นเนติบัณฑิตสยาม และต่อมาได้ทุนเล่าเรียนหลวงไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ จนสำเร็จเนติบัณฑิต

อังกฤษ จาก The Middle Temple

หลังจากสำเร็จเนติบัณฑิตสยามได้เข้ารับราชการที่กระทรวงยุติธรรม และได้รับ

พระราชทานบรรดาศักดิ์ หลวงประดิษฐ์พิจารณ์การ จนกระทั่งได้เป็นสมุหพระนิติศาสตร์ และ

พระยามโนปกรณนิติธาดาในที่สุดใน

ปี พ.ศ. 2461 ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาราชการในพระองค์

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติ

ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2475ได้มีการประชุม

คณะราษฎรครั้งแรกเมื่อวันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2475 เวลา 14.00 น. ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

และที่ประชุมได้มีมติแต่งตั้งพระยามโนปกรณนิติธาดาเป็นประธานคณะกรรมการราษฎร ซึ่งเป็น

ตำแหน่งสูงสุดในการบริหารเทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน

พระยามโนปกรณนิติธาดาได้ตำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการราษฎรอยู่จนถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2475 จึงได้ลาออก

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับถาวรเมื่อวันที่

10 ธันวาคม 2475 และพระยามโนปกรณนิติธาดาได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ตามรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง

ต่อมา เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2476 พระยามโนปกรณนิติธาดาได้กราบบังคมทูล

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอให้ทรงประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร

และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยามโนปกรณนิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476 พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาได้เข้ายึดอำนาจ

จากรัฐบาล พระยามโนปกรณนิติธาดาได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และย้ายไปพำนัก

อยู่ที่ปีนังเป็นเวลา 16 ปีเศษ และได้ถึงแก่อสัญกรรม ณ ที่นั้น เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2491 รวมอายุได้

64 ปีเศษ



นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)



พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ชื่อเดิมว่า "พจน์ พหลโยธิน" เกิดเมื่อวันที่

29 มีนาคม 2430 เวลา 03.30 น. ณ บ้านหน้าวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของ

พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (ถิ่น พหลโยธิน) กับคุณหญิงจับ สมรสกับท่านผู้หญิงบุญหลง

พหลพลพยุหเสนา

เริ่มการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดจักรวรรดิราชาวาส (วัดสามปลื้ม) และย้าย

ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนสุขุมาลวิทยาลัย จนกระทั่งเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก ต่อมา

เมื่ออายุ 16 ปี ได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกในเมืองโกรสลิสเตอร์

เฟล เด ประเทศเยอรมันนี ศึกษาอยู่ 3 ปีต่อจากนั้นได้เข้าประจำอยู่ในกองทัพบกเยอรมัน สังกัด

กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ในปี พ.ศ. 2455 ได้เดินทางไปศึกษาต่อวิชาช่างแสงที่ประเทศเดนมาร์ก

เรียนได้ปีเดียวก็ถูกเรียกตัวกลับเนื่องจากเงินทุนการศึกษาไม่เพียงพอ

พระยาพหลพลพยุหเสนาเข้ารับราชการครั้งแรกประจำกรมทหารปืนใหญ่ที่ 4

จังหวัดราชบุรี อีกสามปีต่อมาได้เข้าประจำกรมทหารปืนใหญ่ บางซื่อ พระนคร และในปี พ.ศ. 2460

ได้ย้ายไปเป็นผู้บังคับการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 9 จังหวัดฉะเชิงเทรา ในชีวิตราชการนั้นได้รับ

พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงและพระตามลำดับในราชทินนามเดียวกันว่า "สรายุทธสรสิทธิ์"

และได้เลื่อนยศทางทหารมาตามลำดับ กระทั่งได้เป็น พันเอก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2471

เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2471มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองครักษ์เวร

และเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2474 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยา

พหลพลพยุหเสนา มีราชทินนามเดียวกับบิดา

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ได้ร่วมกับคณะราษฎรโดยเป็นหัวหน้าคณะราษฎร

ทำการยึดอำนาจเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบ

ประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด

พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน

2476 โดยการทำรัฐประหารรัฐบาลของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ตลอดระยะเวลาที่บริหารประเทศ

ต้องเผชิญปัญหานานัปการ จนต้องลาออกจากตำแหน่งหลายครั้ง และได้มีพระบรมราชโองการ

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้กลับเข้ามาดำรงตำแหน่งใหม่ ในที่สุดเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2481 พระยา

พหลพลพยุหเสนาได้ตัดสินใจยุบสภาและลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ถึงแม้พันเอก

พระยาพหลพลพยุหเสนาจะวางมือจากตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองแล้ว ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

ท่านได้ดำรงตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ และได้รับยศ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนาถึงแก่อสัญกรรมด้วยเส้นโลหิตในสมองแตก

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2490 รวมอายุ ได้ 60 ปี





นายกรัฐมนตรีคนที่ 3 จอมพล แปลก พิบูลสงคราม (แปลก ขีตตะสังคะ)



จอมพล แปลก พิบูลสงคราม เกิดเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2440 เวลาประมาณ

07.10 น. ณ บ้านแพ ปากคลองบางเขน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นบุตรของนายขีด

กับนางสำอาง ขีตตะสังคะ สมรสกับท่านผู้หญิงละเอียด (พันธุ์กระวี)

เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนกลาโหมอุทิศ วัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี ต่อมาได้

เข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อย ทหารบกจนกระทั่งสำเร็จการศึกษาเมื่ออายุ 19 ปี ได้รับยศร้อยตรี

และประจำการที่กองพลที่ 7 จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาสามารถสอบเข้าโรงเรียนเสนาธิการได้เป็น

ที่ 1 และได้ไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก ประเทศฝรั่งเศส จนสำเร็จการศึกษา และ

กลับมารับราชการต่อไป

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พันตรี หลวงพิบูลสงคราม ได้เข้าร่วมกับคณะราษฎร

เปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยเป็นกำลังสำคัญสายทหาร

ในปี พ.ศ. 2477 ได้เลื่อนยศเป็นพันเอก และดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารบก

พันเอก หลวงพิบูลสงคราม เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากพันเอก พระยา

พหลพลพยุหเสนา เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2481 โดยการลงมติของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ

ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งก็ได้เลื่อนยศเป็นพลตรี จนกระทั่งในวันที่ 28 กรกฎาคม 2484 ได้มี

พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพลตรีหลวงพิบูลสงคราม เป็นจอมพล แปลก พิบูลสงคราม

ตลอดเวลาที่บริหารประเทศ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้สร้างผลงานเกี่ยวกับ

นโยบายสร้างชาติและการปลูกฝังความรู้สึกชาตินิยมให้แก่ประชาชนอย่างมากมาย เช่น การเปลี่ยน

ชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทย การเรียกร้องดินแดนทางด้านอินโดจีนคืนจากฝรั่งเศส

การปลูกฝังความนิยมไทย และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยบางอย่าง เช่น การให้สตรีเลิกนุ่ง

โจงกระเบนแล้วหันมาสวมกระโปรงแทน การให้ประชาชนเลิกกินหมากพลู การตั้งชื่อผู้ชายให้มี

ลักษณะเข้มแข็ง ผู้หญิงให้แสดงถึงความอ่อนหวาน การส่งเสริมการศึกษาวิชาการแก่ประชาชน

โดยเฉพาะได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเฉพาะวิชา เช่น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหิดล) มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นต้น

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกในประเทศไทย จอมพล แปลก

พิบูลสงคราม ให้ญี่ปุ่นเดินทัพผ่านไทย และในที่สุดได้ทำสัญญาพันธมิตรทางการทหารและเศรษฐกิจ

กับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผลให้ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เสร็จสิ้นลง จอมพล แปลก พิบูลสงคราม

จึงต้องตกเป็นผู้ต้องหาอาชญากรสงคราม และถูกจับกุมคุมขังเป็นเวลาหลายเดือน

จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้บริหารประเทศมาถึง 8 สมัย จนกระทั่งในวันที่

16 กันยายน 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้นได้ทำการ

รัฐประหาร ทำให้ท่านต้องลี้ภัยการเมืองไปพำนักยังประเทศเขมรเป็นเวลา 2 เดือน และย้ายไป

พำนักอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย และได้กลับไปพำนักอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น จนกระทั่ง

ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวาย ณ บ้านพักที่ตำบลซากามิโอโน ชานกรุงโตเกียว เมื่อวันที่

11 มิถุนายน 2507 รวมอายุได้ 67 ปี



นายกรัฐมนตรีคนที่ 4 พันตรี ควง อภัยวงศ์ 






พันตรี ควง อภัยวงศ์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2445 ณ เมืองพระตะบอง

ประเทศเขมร (ขณะนั้นเป็นจังหวัดในมณฑลบูรพาของไทย) เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์

(ชุ่ม อภัยวงศ์) ผู้สำเร็จราชการจังหวัดพระตะบอง กับคุณหญิงรอด สมรสกับคุณหญิงเลขา อภัยวงศ์

เริ่มศึกษาหนังสือกับขุนอุทัยราชภักดี ผู้เป็นลุงข้างมารดา จากนั้นเข้ารับการศึกษา

ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์และ โรงเรียนอัสสัมชัญ ตามลำดับ แล้วไปศึกษาวิชาวิศวกรรมโยธาที่เอกอล

ซังตรัล เดอ ลียอง ประเทศฝรั่งเศส

หลังจากสำเร็จการศึกษาได้กลับมารับราชการเป็นนายช่างผู้ช่วยโท แผนกกอง

ช่างโทรเลข กรมไปรษณีย์โทรเลข มีความเจริญในหน้าที่การงานจนได้ดำรงตำแหน่งอธิบดี

กรมไปรษณีย์โทรเลข

พันตรี ควง อภัยวงศ์ ได้รับพระราชทานยศพันตรี ปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์พิเศษ

เมื่อคราวร่วมสงครามอินโดจีน พ.ศ. 2484 และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงโกวิทอภัยวงศ์

แต่ได้ลาออกจากบรรดาศักดิ์ เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2484

พันตรี ควง อภัยวงศ์ เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีในรัฐบาลของพระยาพหลพลพยุหเสนา

และจอมพล แปลก พิบูลสงคราม

พันตรี ควง อภัยวงศ์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2487

หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรไม่ผ่านร่างพระราชบัญญัติกำหนดระเบียบบริหารนครบาลเพชรบูรณ์

และพระราชกำหนดจัดสร้างพุทธมณฑลของรัฐบาล จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และจอมพล แปลก

ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี รัฐบาลชุดนี้ของพันตรี ควง ได้บริหารประเทศเป็นเวลา 1 ปี

พันตรี ควง อภัยวงศ์ ได้ร่วมจัดตั้งพรรคประชาธิปัตย์ และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค

คนแรก และเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2489 พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเสียงข้างมากในสภา พันตรี ควง

จึงได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง

ผลงานที่สำคัญในขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี คือ การประกาศสันติภาพ โดย

ก่อนหน้านั้นรัฐบาลชุดก่อนมีความจำเป็นต้องประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ครั้นเมื่อ

ท่านมาดำรงตำแหน่งได้ประกาศให้การประกาศสงครามดังกล่าวเป็นโมฆะไม่ผูกพันประชาชนชาวไทย

ทำให้สัมพันธภาพของประเทศไทยกับเหล่าพันธมิตรดีขึ้น

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2491 พันตรี ควง อภัยวงศ์ ถูกคณะนายทหารบังคับให้ลาออก

จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเปิดทางให้แก่ จอมพลแปลก พิบูลสงคราม กลับเข้ามาดำรง

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วท่านยังคงดำเนินงาน

ทางการเมือง โดยทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรต่อมาอีกระยะหนึ่ง ท่านถึงแก่

อสัญกรรมเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2511 รวมอายุได้ 66 ปี



นายกรัฐมนตรีคนที่ 5 นายทวี บุณยเกตุ



นายทวี บุณยเกตุ เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2447 เวลา 13.20 น. ที่จังหวัด

พระนคร เป็นบุตรของพระยารณชัยชาญยุทธ์ (ถนอม บุณยเกตุ) กับคุณหญิงรณชัยชาญยุทธ์

(ทับทิม) สมรสกับคุณหญิงอำภาศรี บุณยเกตุ

เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

และโรงเรียนราชวิทยาลัย ตามลำดับ จากนั้นไปศึกษาต่อที่ คิงส์ คอลเลจ ประเทศอังกฤษ และ

ไปศึกษาต่อในด้านวิชากสิกรรม ที่มหาวิทยาลัยกรีนยอง ประเทศ ฝรั่งเศส

หลังจากสำเร็จการศึกษา นายทวี บุณยเกตุ ได้เข้ารับราชการเป็นข้าราชการบำรุง

พันธุ์สัตว์ชั้น 2 กรมเพาะปลูกกระทรวงเกษตราธิการ จนกระทั่งวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เข้าร่วม

กับคณะราษฎรทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง และได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ในสมัยรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ศึกษาธิการ ในสมัยรัฐบาลของพันตรี ควง อภัยวงศ์

นายทวี บุณยเกตุ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม

2488 หลังจากที่ พันตรี ควง อภัยวงศ์ ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากสงครามโลก

ครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของท่านเป็นการดำรงตำแหน่งเพียงชั่วคราว

เพื่อรอการเดินทางกลับของหม่อมราชวงศ์ เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าขบวนการเสรีไทยสายต่างประเทศ

ที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อดำเนินการเจรจากับฝ่ายพันธมิตรให้เป็นผลดีแก่ประเทศไทย

ต่อไป ระยะเวลาในการบริหารประเทศของท่านจึงสั้นเพียง 17 วัน เท่านั้น

ถึงแม้ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีชั่วคราวในระยะเวลาสั้น ๆ ก็ตาม ท่านก็มีภารกิจสำคัญ

มากมายในช่วงที่การเมืองทั้งภายในภายนอกประเทศกำลังผันผวน ประเทศมหาอำนาจจะยอมรับ

การประกาศสงครามกับพันธมิตรเป็นโมฆะหรือไม่ ภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การต้อนรับ

คณะนายทหารฝ่ายสัมพันธมิตรที่เดินทางเข้ามาสำรวจความเสียหายในประเทศไทย

เมื่อพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้ว นายทวี บุณยเกตุ ได้เข้าดำรงตำแหน่งใน

สภาร่างรัฐธรรมนูญในสมัยรัฐบาลของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ โดยทำหน้าที่เป็นประธานสภา

หลังจากนั้นจึงได้วางมือจากการเมืองตลอดไป ท่านถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2514

รวมอายุ 67 ปี



นายกรัฐมนตรีคนที่ 6 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช



หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2448 เวลา 04.00 น.

เป็นโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าคำรบกับหม่อมแดง (บุนนาค) สมรสกับท่านผู้หญิง

อุศนา ปราโมช

เริ่มศึกษาที่โรงเรียนราชินี โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียน

สวนกุหลาบวิทยาลัย ตามลำดับ จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเทร้นท์ ประเทศอังกฤษ

ต่อจากนั้นที่วูซเตอร์ คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้รับปริญญาตรีด้านกฎหมาย

เกียรตินิยมอันดับ 2 จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่สำนักเนติบัณฑิตอังกฤษ ณ สำนักเกรย์อินน์ ลอนดอน

สอบไล่เนติบัณฑิตอังกฤษได้คะแนนยอดเยี่ยม ชั้น 1 จึงได้รับพระราชทานรางวัลจากพระเจ้าแผ่นดิน

อังกฤษ

เมื่อเดินทางกลับมายังประเทศไทย หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ศึกษาวิชา

กฎหมายไทย จนกระทั่งได้รับ เนติบัณฑิตไทย และเข้าฝึกงานที่ศาลฎีกาเป็นเวลา 6 เดือน จึงได้

เป็นผู้พิพากษา ต่อมาย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลแพ่ง ผู้ช่วยกรรมการศาลฎีกาและผู้พิพากษา

ศาลอุทธรณ์ ตามลำดับ ช่วงหลังของการรับราชการได้ย้ายไปกระทรวงการต่างประเทศ และ

ไดัรับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหรัฐอเมริกา

ในปี พ.ศ. 2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกเข้าสู่ประเทศไทย

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ประกาศนโยบายเป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลในประเทศไทย และได้

รวบรวมคนไทยในต่างประเทศจัดตั้งขบวนการเสรีไทยขึ้นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ โดย

ปฏิบัติการติดต่อกับฝ่ายสัมพันธมิตร

เมื่อสงครามโลกสิ้นสุดลง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้เดินทางกลับมารับตำแหน่ง

นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2488

ในช่วงที่ดำรงตำแหน่ง ท่านได้ปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการเจรจากับฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่ง

ครั้งแรกอังกฤษได้ยื่นข้อเรียกร้องให้ประเทศไทยเป็นเมืองในอาณัติของอังกฤษ แต่หม่อมราชวงศ์

เสนีย์ ปราโมช ได้ดำเนินการเจรจาให้ไทยได้ หลุดพ้นจากการเป็นเมืองในอาณัติได้ และจำเป็นต้อง

ประกาศพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม เพื่อลงโทษผู้นำหรือ หัวหน้ารัฐบาลที่ร่วมก่อให้เกิด

สงครามและต้องเป็นฝ่ายปราชัย ถ้าหากรัฐบาลไม่ตราพระราชบัญญัตินี้ ฝ่ายสัมพันธมิตรก็จะนำตัว

ผู้ต้องหาเป็นอาชญากรสงครามไปดำเนินคดีในต่างประเทศ

หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หมุนเวียนดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 4 ครั้ง

ซึ่งครั้งสุดท้ายได้เกิดเหตุการณ์วุ่นวายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519

และพลเรือเอก สงัด ชลออยู่ รน. ได้จัดตั้งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินเข้ายึดอำนาจ

หลังจากพ้นตำแหน่งแล้ว หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้า

พรรคประชาธิปัตย์ และวางมือจากการเมือง ใช้ชีวิตสงบเงียบตลอดมา และได้ถึงแก่อสัญกรรม

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2540 รวมอายุได้ 92 ปีเศษ



นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม)



นายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอกรุงเก่า

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายเสียง กับ นางลูกจันทร์ พนมยงค์ สมรสกับท่านผู้หญิง

พูนศุข พนมยงค์

เริ่มการศึกษาในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่โรงเรียน

กฎหมาย กระทรวงยุติธรรม สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตสยาม เมื่ออายุเพียง 19 ปี

ในปี พ.ศ. 2463 ได้รับทุนไปศึกษาต่อวิชากฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส โดยศึกษาภาษา

ฝรั่งเศสและความรู้ทั่วไปที่ วิทยาลัยกอง (Lycee Caen) และศึกษากฎหมายที่มหาวิทยาลัยกอง (Caen)

ได้รับปริญญาทางกฎหมายและได้ "ลิซองซิเอ ทางกฎหมาย" จากนั้นศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปารีส

ได้ดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมาย (Docteur en Droit) ฝ่ายเนติศาสตร์ และประกาศนียบัตรชั้นสูงทาง

เศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยปารีส

ในระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ได้รับเลือกเป็นสภานายกแห่งสมาคมนักเรียนไทย

ในประเทศฝรั่งเศส

เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย นายปรีดี พนมยงค์ได้เข้ารับราชการเป็นผู้พิพากษาใน

กระทรวงยุติธรรมเมื่อปี พ.ศ. 2469 แล้วย้ายไปเป็นเลขานุการกรมร่างกฎหมายและเป็นอาจารย์

สอนกฎหมายปกครองในโรงเรียนกฎหมาย จนกระทั่งได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น

อำมาตย์ตรีหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2472

นายปรีดี พนมยงค์ เป็นบุคคลสำคัญในการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 และได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวในครั้งนั้น

ในปี พ.ศ. 2476 ได้ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจแห่งชาติขึ้นเสนอรัฐบาล แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ

และถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ นายปรีดี พนมยงค์ จึงต้องเดินทางออกนอกประเทศ ภายหลัง

เมื่อพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาทำรัฐประหาร เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2476 รัฐบาลได้ตั้ง

คณะกรรมการในคณะหนึ่งเพื่อสอบสวนว่านายปรีดี พนมยงค์ เป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่ ผลการ

สอบสวนปรากฎว่า นายปรีดี พนมยงค์ ไม่มีมลทิน และนายปรีดี พนมยงค์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในรัฐบาลของพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา

ในด้านการศึกษา นายปรีดี พนมยงค์ ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง

และดำรงตำแหน่งผู้ประศาสน์การของมหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นคนแรก

ในขณะที่เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา เมื่อปี พ.ศ. 2484 นายปรีดี พนมยงค์ ถูกกัน

ให้พ้นจากตำแหน่งทางการเมือง และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และในขณะที่

สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังดำเนินอยู่ นายปรีดี พนมยงค์ ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยในประเทศ

ติดต่อประสานงานกับขบวนการเสรีไทยภายนอกประเทศ ภายใต้การนำของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช

เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ จนกระทั่งสงครามสิ้นสุดลง นายปรีดี พนมยงค์ ได้รับ แต่งตั้งให้เป็น

รัฐบุรุษอาวุโสและร่วมกับรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ดำเนินการประกาศว่า การที่รัฐบาลไทย

ประกาศสงครามกับอเมริกาและอังกฤษเป็นโมฆะ และได้หาทางผ่อนคลายสัญญาสมบูรณ์แบบ

ที่ผูกมัดไทย เนื่องจากผลของการแพ้สงคราม

นายปรีดี พนมยงค์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 7 ของไทย เมื่อวันที่ 24 มีนาคม

2489 เนื่องจากรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ ได้ลาออก ในช่วงที่นายปรีดี พนมยงค์ บริหารประเทศ

อยู่นั้น ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทย คือ ในวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ได้เกิดกรณี

สวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลด้วยพระแสงปืน รัฐบาลถูกโจมตีอย่างหนัก

โดยถูกกล่าวหาว่ารัฐบาลพยายามปิดบังและอำพรางความจริงในกรณีสวรรคต รวมทั้งไม่สามารถ

หาข้อเท็จจริงในการสวรรคตมาแจ้งให้ประชาชนทราบได้ในที่สุดนายปรีดี พนมยงค์ จึงลาออกจาก

ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2489

ต่อมาเมื่อนายทหารบกทั้งในและนอกราชการได้ก่อการรัฐประหารรัฐบาลของ

พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 นายปรีดี พนมยงค์ ได้หลบหนี

ออกนอกประเทศไปพำนักอยู่ที่มาเลเซีย และได้ลี้ภัยทางการเมืองไปอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน

เป็นเวลาหลายปี ต่อจากนั้นได้ใช้ชีวิตในวัยชราอย่างสงบเงียบที่ประเทศฝรั่งเศส จนกระทั่งถึงแก่

อสัญกรรมด้วยโรคหัวใจวายที่บ้านพักชานกรุงปารีส เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2526 รวมอายุได้ 83 ปี



นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ (หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์)



พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2444 เวลา 04.00 น.

ที่ตำบลหัวรอ อำเภอรอบกรุง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายอู๋ กับนางเงิน ธารีสวัสดิ์

พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์ จากนั้น

เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายเรือ กรุงเทพ และได้ศึกษาวิชากฎหมายจนสำเร็จได้เป็นเนติบัณฑิตไทย

ในขณะที่รับราชการอยู่ในกองทัพเรือ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์และราชทินนามเป็น

หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์

พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้เข้าร่วมในการเปลี่ยนแปลง

การปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 และได้เริ่มบทบาททางการเมืองโดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิก

สภาผู้แทนประเภท 2 และได้เข้าร่วมในคณะรัฐมนตรี ครั้งแรกในสมัยรัฐบาลของพันเอก พระยา

พหลพลพยุหเสนา เมื่อปี 2476 จนกระทั่งในปี 2479 - 2481 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงมหาดไทย ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในสมัยรัฐบาล

ของ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในสมัยรัฐบาลของ

นายปรีดี พนมยงค์

พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจาก นายปรีดี

พนมยงค์ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2489 ในช่วงที่เข้ารับตำแหน่งนั้น ประเทศอยู่ในภาวะหลังสงคราม

เศรษฐกิจของประเทศกำลังทรุดหนัก พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ได้แก้ไขปัญหาด้าน

เศรษฐกิจด้วยการจัดตั้ง "องค์การสรรพาหาร" ขึ้น โดยการซื้อของแพงมาขายถูกให้แก่ประชาชน

เพื่อตรึงราคาสินค้าไม่ให้สูง และเรียกเก็บธนบัตรที่ฝ่ายสัมพันธมิตรนำเข้ามาใช้จ่ายจากประชาชน

ด้วยการออกธนบัตรใหม่ให้แลก รวมทั้งนำเอาทองคำซึ่งเป็นทุนสำรองของชาติออกขายแก่ประชาชน

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 เกิดการรัฐประหารโดยการนำของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ

และพันเอก กาจ กาจสงคราม ทำให้ท่านต้องเดินทางออกนอกประเทศไปลี้ภัยอยู่ที่ฮ่องกงระยะหนึ่ง

แล้วจึงกลับประเทศไทย และใช้ชีวิตอย่างสงบเงียบต่อมา พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์

ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2531 ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รวมอายุได้ 87 ปี



นายกรัฐมนตรีคนที่ 9 นายพจน์ สารสิน



นายพจน์ สารสิน เกิดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2448 ที่บ้านพักถนนสุรศักดิ์

กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เทียนฮี้) กับคุณหญิงสุ่น สมรสกับ

คุณหญิงศิริ สารสิน ศึกษาที่สหรัฐอเมริกาตั้งแต่วัยเยาว์ เมื่อกลับสู่ประเทศไทยเข้าเรียน

วิชากฎหมาย จนสอบได้เนติบัณฑิตไทยเมื่อปี 2472 และศึกษาวิชากฎหมายในประเทศอังกฤษ

นายพจน์ สารสิน เริ่มบทบาททางการเมืองด้วยการสนับสนุนของ จอมพล แปลก

พิบูลสงคราม โดยการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อปี พ.ศ. 2490 และเข้าร่วมรัฐบาล

ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศในปี พ.ศ. 2491 และต่อมาในปี

พ.ศ. 2492 ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่ภายหลังได้ลาออก

เนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งกับรัฐบาลเกี่ยวกับการรับรองรัฐบาลเบาได๋ แห่งเวียดนามใต้

ระหว่างปี พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต

ไทยประจำสหรัฐอเมริกาและทำหน้าที่ผู้แทนของประเทศไทยประจำองค์การสหประชาชาติ

และในเดือนกรกฎาคม 2500 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสนธิสัญญา

ป้องกันร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ส.ป.อ.)

นายพจน์ สารสิน ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21

กันยายน 2500 หลังจากการทำรัฐประหารของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภารกิจสำคัญของ

รัฐบาลคือจะต้องเร่งจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้บริสุทธิ์และยุติธรรมอันเป็น

สิ่งที่ประชาชนเรียกร้อง และเป็นเหตุผลที่จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้เป็นข้ออ้างในการ

ยึดอำนาจจากรัฐบาลชุดเก่า

หลังจากที่ได้ดำเนินการจัดการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว นายพจน์ สารสิน

ก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และกลับไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ส.ป.อ. ตามเดิม

หลังชีวิตราชการท่านพำนักอยู่ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร และยุติบทบาททางการเมือง

โดยสิ้นเชิง จนถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2543 รวมอายุได้ 95 ปีเศษ



นายกรัฐมนตรีคนที่ 10 จอมพล ถนอม กิตติขจร



จอมพล ถนอม กิตติขจร เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2454 ณ บ้านหนองพลวง

อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก เป็นบุตรของขุนโสภิตบรรณารักษ์ (อำพัน กิตติขจร) กับ

นางโสภิตบรรณารักษ์ (ลิ้นจี่) สมรสกับท่านผู้หญิงจงกล กิตติขจร

จอมพล ถนอม กิตติขจร เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนประชาบาลวัดโคกพลู

จังหวัดตาก หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก และในระหว่างรับราชการ

ทหารได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนแผน ที่ทหาร กองทัพบก โรงเรียนทหารราบ กองทัพบก และ

วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (รุ่นที่ 1) ตามลำดับ

รับราชการครั้งแรกในตำแหน่งผู้บังคับหมวดกรมทหารราบที่ 8 กองพันที่ 1

จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ร่วมก่อ รัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ในขณะที่มียศ

เป็นร้อยโท ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารบกที่ 11 ต่อมาได้เป็น รองผู้บัญชาการกองพล

ที่ 1 ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 รองผู้บัญชาการภาคทหารบกที่ 1 และเป็นแม่ทัพภาคที่ 1

มาโดยลำดับ

จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง

กลาโหมในรัฐบาลของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง

กลาโหมในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน

จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้รับการซาวเสียงจากสภาผู้แทนราษฎรให้ขึ้น

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2501 บริหาร

ประเทศไทย 9 เดือนเศษก็ลาออกจากตำแหน่ง เพื่อเปิดทางให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์

ขึ้นเป็นนายกรัฐมตรี เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ถึงแก่อสัญกรรม จอมพล ถนอม กิตติขจร

ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงระยะเวลาที่จอมพล ถนอม

กิตติขจร บริหารประเทศได้สร้างทางหลวงสายต่าง ๆ ทั่วประเทศหลายสาย สร้างเขื่อน

อาทิ เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ นอกจากนี้ท่านยังได้ทำการปรับปรุงกองทัพให้ทันสมัย

ทัดเทียมกับนานาประเทศ และในปี พ.ศ. 2508 ได้ส่งทหารไปร่วมรบในสงครามเวียดนาม

ด้วย

ในปี 2514 จอมพล ถนอม กิตติขจร ได้ทำรัฐประหารรัฐบาลของตนเอง

และได้จัดตั้งสภาบริหารคณะปฏิวัติขึ้น จนกระทั่งมีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครอง

แห่งราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2515 และสภานิติบัญญัติแห่งชาติตาม

ธรรรมนูญการปกครองดังกล่าวได้มีมติให้จอมพล ถนอม กิตติขจร เข้าดำรงตำแหน่ง

นายกรัฐมนตรีต่อไป

จอมพล ถนอม กิตติขจร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14

ตุลาคม 2516 อันเนื่องมาจากเหตุการณ์เรียกร้องรัฐธรรมนูญของกลุ่มนิสิต นักศึกษา

และเกิดเหตุการณ์ไม่สงบเรียบร้อยขึ้นภายในประเทศ จึงเดินทางออกนอกประเทศเพื่อให้

สถานการณ์คลี่คลาย รวมระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีทั้งสิ้น 10 ปี 6 เดือนเศษ

ปัจจุบันท่านพำนักอยู่ที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร และได้ยุติบทบาททางการเมืองแล้ว



นายกรัฐมนตรีคนที่ 11 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์




จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เกิดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2451 ที่บ้านท่าโรงยา

ตลาดพาหุรัด กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของพันตรี หลวงเรืองเดชอนันต์ (ทองดี ธนะรัชต์ )

กับนางจันทิพย์ ธนะรัชต์

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่จังหวัดมุกดาหาร จากนั้น เข้ารับ

การศึกษาต่อที่โรงเรียน วัดมหรรณพาราม และโรงเรียนนายร้อยทหารบก จนสำเร็จการศึกษา

เมื่อปี 2472 ได้รับยศร้อยตรีประจำการที่กองพันที่ 1 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์

ในปี พ.ศ. 2484 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าร่วมรบในสงครามมหาเอเชียบูรพา

ในขณะที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับ กองทัพทหารราบที่ 33 ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกล้าหาญ

วันที่ 1 เมษายน 2488 จึงได้เลื่อนยศเป็นพันเอก ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 13

และผู้บังคับการจังหวัดทหารบกลำปาง จนกระทั่งสงครามยุติลง

ปี พ.ศ. 2495 ได้เลื่อนยศเป็นพลเอก และในวันที่ 23 มิถุนายน 2497 ได้รับ

แต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารบก และต่อมาได้รับพระราชทานยศเป็นจอมพล ทหารบก

ทหารอากาศ และทหารเรือ

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์

2502 หลังจากการทำรัฐประหารรัฐบาลของจอมพล ถนอม กิตติขจร เนื่องจากสถานการณ์

ทางการเมืองภายในประเทศไม่เรียบร้อย

ในช่วงที่บริหารประเทศ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้สร้างผลงานทั้งทางด้าน

การปรับปรุงการบริหารและการพัฒนาประเทศไว้มากมาย ผลงานที่สำคัญ ๆ ได้แก่ การออก

กฎหมายเลิกการเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามพวกนักเลง อันธพาล

กฎหมายปรามการค้าประเวณี และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

โดยได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย จนกระทั่งได้จัดทำ

แผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศฉบับที่ 1 (ปี พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2509) ซึ่งแผนดังกล่าว

เป็นแม่แบบของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน

จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจนถึงแก่อสัญกรรม

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2506 ที่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า รวมอายุได้ 55 ปี และเป็น

นายกรัฐมนตรีคนเดียวที่เสียชีวิตลงในขณะที่ดำรงตำแหน่ง



นายกรัฐมนตรีคนที่ 12 นายสัญญา ธรรมศักดิ์



นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2450 ที่บ้านข้างวัดอรุณราชวราราม

บางกอกใหญ่ ธนบุรี เป็นบุตรของมหาอำมาตย์ตรี พระยาธรรมสารเวทย์วิเศษภักดี

(ทองดี ธรรมศักดิ์) กับคุณหญิงชื้น ธรรมศักดิ์ สมรสกับท่าน ผู้หญิงพงา ธรรมศักดิ์

นายสัญญา เริ่มการศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก จากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียน

กฎหมายกระทรวงยุติธรรม สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตไทยเมื่อปี พ.ศ. 2471 และได้ทุนเล่าเรียน

ของระพีมูลนิธิไปศึกษาวิชากฎหมายต่อที่สำนัก Middle Temple ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา 3 ปี

จนสำเร็จเนติบัณฑิตอังกฤษ เมื่อปี พ.ศ. 2476

นายสัญญา เริ่มชีวิตราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาฝึกหัด กระทรวงยุติธรรม

จากนั้นก็มีความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ข้าหลวง

ยุติธรรมภาค 4 ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ ปลัดกระทรวง ยุติธรรม ผู้พิพากษา

ศาลฎีกา ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ และประธานศาลฎีกา

ตามลำดับ ภายหลังจากเกษียณอายุราชการแล้วในปี พ.ศ. 2511 ก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี และในปีเดียวกันนี้ก็ได้เป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย

ธรรมศาสตร์อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย และต่อมาได้รับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลังจากจอมพลถนอม กิตติขจร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเดินทาง

ออกไปนอกประเทศ เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรม

ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ในขณะที่นายสัญญาธรรมศักดิ์ ดำรงตำแหน่งเป็นช่วงที่ นิสิต นักศึกษาและกลุ่มพลัง

ต่าง ๆ ได้เรียกร้องและสร้างความกดดันต่อรัฐบาลโดยตลอด จนกระทั่งนายสัญญา ธรรมศักดิ์

ต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปคราวหนึ่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2517 แต่ได้รับการ

ยืนยันจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ดำรงตำแหน่งต่อไปอีกครั้งหนึ่งจนกระทั่งการร่างรัฐธรรมนูญ

ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของรัฐบาลได้เสร็จสิ้นลง คณะรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ จึงได้สิ้นสุด

ลงเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518

หลังจากนั้นนายสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง

ให้ดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีเรื่อยมาจนกระทั่งเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541 นายสัญญา ธรรมศักดิ์

ได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งประธานองคมนตรี เนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย แต่ยังคง

ดำรงตำแหน่งองคมนตรีเช่นเดิมจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2545 รวมอายุได้ 95 ปี



นายกรัฐมนตรีคนที่ 13 พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช



พลตรี หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เกิดเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2454

เมื่อเวลา 07.20 น. ในเรือ ที่ลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลบ้านม้า อำเภออินทบุรี

จังหวัดสิงห์บุรี เป็นโอรสของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าคำรบ กับหม่อมแดง (บุนนาค)

เริ่มการศึกษาชั้นต้น ที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (วังหลัง) โรงเรียนสวนกุหลาบ

วิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อที่โรงเรียน Trent College และศึกษาวิชาปรัชญาเศรษฐศาสตร์

และการเมืองที่ The Queen’s College มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สำเร็จ

ปริญญาตรีเกียรตินิยม และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ต่อมาได้รับปริญญา

วารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เริ่มเข้ารับราชการที่กรมสรรพากร ซึ่งต่อมา

เป็นเลขานุการที่ปรึกษากระทรวงการคลัง และเข้าทำงานเป็นผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์

สาขาลำปาง เมื่อเกิดสงครามอินโดจีนและสงครามมหาเอเชียบูรพา ได้เข้ารับราชการทหาร

ได้รับยศนายสิบตรี ต่อจากนั้นรัฐบาลได้ตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้น หม่อมราชวงศ์

คึกฤทธิ์ ได้เข้าทำงานเป็นหัวหน้าฝ่ายสำนักผู้ว่าการและหัวหน้าฝ่ายออกบัตรธนาคารแห่ง

ประเทศไทย และยังเคยดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศเป็นพลตรี

(ทหารราชองครักษ์พิเศษ) เมื่อปี พ.ศ. 2531

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพรรคการเมืองพรรคแรก

ในเมืองไทยชื่อ "พรรคก้าวหน้า" เมื่อประมาณ พ.ศ. 2488 - 2489 ต่อจากนั้นได้ร่วมใน

คณะผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์ และได้ริเริ่มจัดตั้ง พรรคกิจสังคม ในการเลือกตั้ง

เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2518 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิก

สภาผู้แทนราษฎรในเขตพระนคร ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับเสียง

ข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร จึงได้ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาล แต่ไม่สามารถเข้าบริหารประเทศ

ได้ เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรไม่ให้ความเห็นชอบตามนโยบายพรรคกิจสังคมซึ่งมีสมาชิก

สภาผู้แทนราษฎร 18 คน โดยการนำของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงได้จัดตั้ง

รัฐบาลผสมขึ้น และได้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2518

ในขณะที่บริหารประเทศ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ดำเนินการเปิดสัมพันธ์

ทางการทูตกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเดินทางไปเยือนกรุงปักกิ่ง ตามนโยบายการอยู่

ร่วมกันอย่างสันติ และเป็นมิตรกับทุกประเทศที่มีเจตนาดีต่อประเทศไทย โดยไม่คำนึงถึงความ

แตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองในด้านการพัฒนาประเทศ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ได้เริ่มโครงการผันเงินสู่ชนบท เพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่และสร้างงานในชนบท โดยการ

ผันเงินจากงบประมาณรายจ่าย เพื่อปรับปรุงและสร้างสิ่งสาธารณูปโภคที่จำเป็นในชนบท

มีผลให้ประชาชนในชนบทมีงานทำและมี รายได้ เป็นการยก ฐานะทางเศรษฐกิจของชาวชนบท

ให้ดีขึ้น และส่งเสริมการพัฒนาสภาตำบลอย่างจริงจัง รวมทั้งจัดให้มีโครงการช่วยเหลือ

ผู้มีรายได้น้อย และได้ดำเนินการซื้อสัมปทานเดินรถของเอกชนมารวมเป็นของรัฐบาลภายใต้

การดำเนินงานขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

จากการที่รัฐบาลของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค

จึงทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพเท่าที่ควร ต้องเผชิญกับปัญหาทางการเมืองหลายประการ

ในที่สุดหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จึงได้ตัดสินใจยุบสภา ผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 12

มกราคม 2519 รวมระยะเวลาที่บริหารประเทศประมาณ 9 เดือนเศษ

หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกิจสังคม

และได้ยุติบทบาททาง การเมือง และใช้ชีวิตสงบเงียบ ณ บ้านพักซอยสวนพลู กรุงเทพมหานคร

นอกจากบางโอกาสที่จะออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองโดยการให้สัมภาษณ์หรือ

โดยการเขียนบทความลงในคอลัมน์ "ซอยสวนพลู" พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2538 ณ โรงพยาบาลสมิติเวช รวมอายุได้ 84 ปีเศษ



นายกรัฐมนตรีคนที่ 14 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร



นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2470 ที่กรุงเทพมหานคร

เป็นบุตรของนายแห กับนางผะอบ กรัยวิเชียร สมรสกับคุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร

(นามเดิม นางสาวคาเรน แอนเดอเซ่น)

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบ

วิทยาลัย และศึกษาวิชากฎหมาย ที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง สำเร็จได้รับ

ปริญญาธรรมศาสตร์บัณฑิตเมื่อปี พ.ศ. 2491 จากนั้นจึงเดินทางไปศึกษาวิชากฎหมายต่อ

ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ ได้รับปริญญานิติศาสตร์บัณฑิต เมื่อปี พ.ศ. 2496

และสำเร็จวิชากฎหมายได้รับเรียกเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษจากสำนักอบรมศึกษากฎหมายของ

เนติบัณฑิตยสภา สำนักเกรย์สอินน์ ประเทศอังกฤษ ในปีต่อมา

เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้กลับมารับราชการใน

กระทรวงยุติธรรม ตำแหน่งผู้ช่วย ผู้พิพากษา และตำแหน่งสูงสุดที่ได้รับในเวลาต่อมา คือ

ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และในขณะเดียวกันก็เป็นศาสตราจารย์สอนวิชากฎหมาย

ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักอบรมศึกษากฎหมายของ

เนติบัณฑิตยสภา ฯลฯ ด้วย

นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 14 ภายหลังจาก

ที่คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดยการนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ร.น. ได้ทำการ

รัฐประหารรัฐบาลของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519

การดำเนินงานที่สำคัญในขณะที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร บริหารประเทศ ได้แก่

การสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชในท้องถิ่นทุรกันดาร 20 แห่ง เพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย

เนื่องในวโรกาสที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงอภิเษกสมรส การจัดให้มีโครงการอาสา

พัฒนาท้องถิ่นของตนเองในฤดูแล้งและโครงการอาสาปลูกป่าในฤดูฝน เป็นต้น

ในระยะที่บริหารประเทศอยู่นั้น ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่สำคัญหลายครั้ง

และต่อมาคณะปฏิรูปการ ปกครองแผ่นดินซึ่งนำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ร.น. ทำการ

รัฐประหารอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2520 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงพ้นจากตำแหน่ง

นายกรัฐมนตรี ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ท่านดำรงตำแหน่งองคมนตรี

มาจนถึงปัจจุบัน



นายกรัฐมนตรีคนที่ 15 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ 





พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2460 เป็นบุตรของ

นายแจ่ม กันนางเจือ ชมะนันทน์ สมรสกับคุณหญิงวิรัตน์ ชมะนันทน์

พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนสมุทรสาครวิทยาลัย

โรงเรียนปทุมคงคาจากนั้นเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จนสำเร็จการศึกษา

ในปี 2483 ในระหว่างรับราชการทหารได้ศึกษาต่อที่ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก โรงเรียน

เสนาธิการทหารบกแห่งสหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบก และ วิทยาลัยปัองกันราชอาณาจักร

รุ่น ๕

ในช่วงที่รับราชการทหาร พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์เคยร่วมรบในสมรภูมิ

เกาหลีรุ่นแรก ในตำแหน่งผู้บังคับกองพันทหารราบ ผลัดที่ 3 สร้างเกียรติภูมิอย่างมาก

จนหน่วยใต้บังคับบัญชาได้ฉายาว่า "กองพันพยัคฆ์น้อย" ภายหลังกลับจากสงครามก็เข้า

ประจำกองบัญชาการทหารสูงสุด เติบโตในสายเสนาธิการมาเป็นลำดับจนเป็นพลเอก และ

ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดจนเกษียณอายุราชการ

พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากคณะปฏิรูป

การปกครองแผ่นดินภายใต้ การนำของ พล.ร.อ.สงัด ชลอยู่ ได้ทำการรัฐประหารรัฐบาล

ของนายธานินทร์ กรัยวิเชียร

ผลงานสำคัญในช่วงที่พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ดำรงตำแหน่งคือการ

ปรับปรุงสัมพันธภาพกับประเทศเพื่อนบ้านอันประกอบด้วย ประเทศเวียดนาม กัมพูชา ลาว

และพม่า รวมทั้งพลเอก เกรียงศักดิ์ ได้เดินทางไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพ

โซเวียตเพื่อกระชับความสัมพันธ์กับประเทศมหาอำนาจทั้งสอง ทำให้ไทยมีความสัมพันธ์ทาง

การทูตและการค้ากับทั้งสองประเทศแน่นแฟ้นขึ้น นอกจากนี้ยังได้จัดตั้งหน่วยงานสำคัญ ๆ

เพิ่มขึ้นอีกหลายหน่วยงาน เช่น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

และการพลังงาน และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น

พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่

29 กุมภาพันธ์ 2523 ปัจจุบันได้ยุติบทบาททางการเมืองแล้ว



นายกรัฐมนตรีคนที่ 16 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์



พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2463 ที่ตำบลบ่อยาง

อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เป็นบุตรคนที่ 6 ของอำมาตย์โท หลวงวินิจฑัณทกรรม

กับนางออด ติณสูลานนท์

พลเอก เปรม เริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนวัดบ่อยาง และศึกษาต่อที่โรงเรียนวชิราวุธ

จังหวัดสงขลา จากนั้นเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพมหานครที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียน

เทคนิคทหารบก โรงเรียนทหารม้าศูนย์การทหารม้า โรงเรียนยานเกราะ กองทัพบกสหรัฐอเมริกา

ฟอร์ทน๊อกซ์ เคนตั๊กกี้ สหรัฐอเมริกา วิทยาลัยกองทัพบก และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 9

พลเอก เปรม เริ่มรับราชการในตำแหน่งผู้บังคับหมวด ที่กรมรถรบ จากนั้นมีความ

เจริญก้าวหน้าในหน้าที่ราชการมาตามลำดับ กล่าวคือ ปี 2502 ได้เลื่อนยศเป็นพันเอก ในตำแหน่ง

รองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ปี 2506 ดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้า

เลื่อนยศเป็นพลตรีในตำแหน่งผู้บัญชาการศูนย์การทหารม้าและเป็นรอง แม่ทัพภาคที่ 2 ในปี 2516

ได้เป็นแม่ทัพภาคที่ 2 ในปี 2517 เลื่อนยศเป็นพลเอกในตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก

ในปี 2520 และดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ในปี 2521

พลเอก เปรม เข้ามามีบทบาททางการเมือง โดยได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาร่าง

รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2502 เป็นวุฒิสมาชิก ในปี 2511 และเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

เมื่อปี 2516 พลเอก เปรม เข้าร่วมรัฐบาลของพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ โดยดำรงตำแหน่ง

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยและสมาชิกสภาปฏิรูป ในปี 2520และ รัฐมนตรีช่วยว่าการ

กระทรวงกลาโหม ในปี 2522

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสืบต่อจาก พลเอก เกรียงศักดิ์

ชมะนันทน์ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2523 ตลอดระยะเวลาที่บริหารประเทศได้มีผลงานสำคัญมากมาย

เช่น การปรับปรุงประมวลกฎหมายรัษฎากรและกฎหมายสรรพสินค้า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม

แก่สังคม การสร้างงานตามโครงการสร้างงานในชนบท (กสช.) การจัดตั้งคณะกรรมการร่วม

ภาครัฐบาลและเอกชน (กรอ.) เพื่อส่งเสริมบทบาททางการค้าและการลงทุนของภาคเอกชน

ภายในประเทศ การดำเนินการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ภายในประเทศอย่างได้ผล

โดยนำนโยบายการใช้ "การเมืองนำการทหาร" ตามคำสั่งนโยบายที่ 66/2523 เป็นผลให้พรรค

คอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอ่อนกำลังลงและสลายตัวไปในที่สุด

พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ได้บริหารประเทศมาจนถึงวันที่ 28 เมษายน 2531

ก็ตัดสินใจยุบสภาอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง และกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป

ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2531 พร้อมทั้งยุติบทบาททางการเมือง ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ

แต่งตั้งให้เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2531 และยังได้รับการยกย่องให้เป็นรัฐบุรุษด้วย

ในปัจจุบันได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นประธานองคมนตรีแทนนายสัญญา ธรรมศักดิ์

เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2541



นายกรัฐมนตรีคนที่ 17 พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ 





พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2463 ที่ตำบลพลับพลาไชย

จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของจอมพล ผิน ชุณหะวัณ กับคุณหญิง วิบูลย์ลักษม์ ชุณหะวัณ

สมรสกับท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ (โสพจน์)

พลเอก ชาติชาย เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า

โรงเรียนนายทหารม้า และโรงเรียนยานเกราะกองทัพบก (อาร์เมอร์สคูล) มลรัฐเคนตั๊กกี้ สหรัฐอเมริกา

พลเอก ชาติชาย รับราชการครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2483 ในตำแหน่งผู้บังคับหมวด

กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ ประจำ

กรมเสนาธิการทหารบก ต่อมาในปี พ.ศ. 2492 ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งรองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบก

ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา และกลับมาเป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์

รองผู้บังคับการโรงเรียนยานเกราะ และผู้บังคับการกรมทหารม้าที่ 2 และผู้บังคับการโรงเรียน

ยานเกราะ ในปี พ.ศ. 2501 ได้ถูกเหตุการณ์ทางการเมืองผันแปรชีวิตไปเป็นอุปทูตอัครราชทูต

วิสามัญผู้มีอำนาจเต็ม เอกอัครราชทูตวิสามัญ ผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศอาร์เจนตินา และ

เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำประเทศออสเตรีย ตุรกี สำนักวาติกัน และ

เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ตามลำดับ

ในปี พ.ศ. 2515 พลเอก ชาติชาย ได้กลับมายังประเทศไทย และเข้าดำรงตำแหน่ง

อธิบดีกรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2518 พลเอก ชาติชาย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

จังหวัดนครราชสีมา และต่อมาได้รับเลือกตั้งติดต่อกันมารวม 5 สมัย

พลเอก ชาติชาย เริ่มบทบาททางการเมืองในรัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร

โดยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และได้เข้าร่วมรัฐบาลอีกหลายสมัย

ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

และรองนายกรัฐมนตรี

พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศไทย

ในปี 2531 เมื่อพรรค ชาติไทยที่พลเอก ชาติชาย เป็นหัวหน้าพรรคอยู่ในขณะนั้นเข้าจัดตั้งรัฐบาล

ผลงานสำคัญของรัฐบาลในช่วงที่พลเอก ชาติชาย เข้าบริหารประเทศได้แก่

การดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอินโดจีน โดย

การเปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า รวมทั้งดำเนินการประสานงานให้มีการเจรจาร่วม

ระหว่างเขมร 4 ฝ่าย เพื่อยุติการสู้รบ และการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้การนำของสีหนุขึ้น

ทางด้านเศรษฐกิจได้อนุมัติโครงการเพื่อให้เอกชนเข้ามาลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

หลายโครงการ ได้แก่ โครงการขยายบริการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย โครงการพัฒนาพื้นที่

ชายฝั่งทะเลภาคใต้ โครงการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร โครงการ

ทางด่วนยกระดับ และโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร

พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ บริหารประเทศจนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534

ก็ถูกยึดอำนาจการปกครองโดย คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ภายใต้การนำของ

พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ พลเอกสุจินดา คราประยูร พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล และ

พลเอก อิสระพงศ์ หนุนภักดี พลเอกชาติชายได้เดินทางไปพำนักอยู่ในประเทศอังกฤษระยะหนึ่ง

และได้เดินทางกลับมาพำนักอยู่ในประเทศไทย

ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของจังหวัดนครราชสีมา

ในการเลือกตั้งทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 โดยสังกัด พรรคชาติพัฒนา

ในตำแหน่งหัวหน้าพรรค และบทบาททางการเมืองมาโดยตลอด พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ

ได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541 ณ โรงพยาบาลคอมเวลล์ ประเทศอังกฤษ

รวมอายุได้ 78 ปี



นายกรัฐมนตรีคนที่ 18 นายอานันท์ ปันยารชุน



นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2475 เข้ารับการศึกษาระดับมัธยมที่

กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายที่ดัลลิช คอลเลจ ประเทศอังกฤษ

และศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้ปริญญาตรี(เกียรตินิยม) สาขากฎหมาย ในปี 2498

เข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศในปี 2498 ระหว่างปี 2502 - 2507

เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้รับตำแหน่งเลขานุการเอกคณะทูตถาวร

แห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ในปี 2507 และต่อมาในปี 2510 ได้รับ

การแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ และเอกอัครราชทูตประจำประเทศแคนาดา

จนถึงปี 2515 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐอเมริกาและผู้แทนถาวร

แห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ตั้งแต่ปี 2515 - 2518

นายอานันท์ ได้กลับมารับตำแหน่งปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อปี 2519 และ

ตำแหน่งสุดท้ายทางราชการคือ เอกอัครราชทูตประจำสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ระหว่างปี

2520 - 2521 นายอานันท์ลาออกจากกระทรวงการต่างประเทศในปี 2522 และเข้าร่วมงานกับ

กลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน จำกัด

นายอานันท์ได้รับตำแหน่งอุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมไทยตั้งแต่ปี 2523

เมื่อสมาคมอุตสาหกรรมไทยยกฐานะขึ้นเป็นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในปลายปี 2530

นายอานันท์ก็ได้รับเลือกตั้งเป็นรองประธานสภาฯ และในเดือนเมษายน 2533 ได้รับเลือกตั้ง

เป็นประธานสภาฯ ดำรงตำแหน่งตามวาระเป็นเวลา 2 ปี

นายอานันท์ ดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีหอการค้าและอุตสาหกรรมอาเชียน

ระหว่างปี 2525 - 2527 และระหว่างปี 2525 -2526 เป็นประธาน ASEAN Task Force

ในเรื่องความร่วมมือของอาเซียนอันประกอบด้วยบุคคล 15 คน จากทั้งภาครัฐบาลและ

ภาคเอกชน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยรัฐบาลอาเซียนระหว่างเดือนพฤษภาคม 2529 ถึง

มกราคม 2534 เป็นประธานฝ่ายอาเซียนในคณะมนตรีอาเซียนสหรัฐอเมริกา

นายอานันท์ เป็นกรรมการสภาสถาบันผู้ทรงคุณวุฒิของสภาสถาบันบัณฑิตพัฒน-

บริหารศาสตร์ กรรมการสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กรรมการสำนักงาน

คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกรรมการสภาที่ปรึกษาสถาบันบัณฑิต-

บริหารธุรกิจศศินทร์ กรรมการสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรรมการสถาบัน เทคโนโลยี

แห่งเอเชีย (เอ.ไอ.ที) และกรรมการศูนย์การแลกเปลี่ยนทางเทคโนโลยี สหรัฐ - อาเซียน

ในเดือนตุลาคม 2533 ได้รับการเลือกตั้งเป็นกรรมการ The World Management

Council (CLOS) และในเดือนมกราคม 2534 รับเป็นกรรมการ The Business Council

for Sustainable Development (BCSD)

นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหยูเนี่ยน

จำกัด ระหว่างปี 2528 - 2533 และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการบริษัท สหยูเนี่ยน

จำกัด ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2534

ในวันที่ 2 มีนาคม 2534 นายอานันท์ ปันยารชุน ได้รับพระบรมราชโองการ

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทยลำดับที่ 18

รัฐบาลซึ่งมี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีได้สร้างผลงานที่สำคัญ

ไว้หลายประการ คือ การปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การปรับปรุงประสิทธิภาพ

ระบบข้าราชการ การริเริ่มที่จะจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน การส่งเสริมตลาดทุน การส่งเสริม

การแข่งขันโดย เสรีในอุตสาหกรรมนโยบายการค้าเสรีภายใต้การแข่งขันอย่างเป็นธรรม

การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทนภาษีการค้า การปรับปรุง การสรรพสามิตให้สอดคล้องกับ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม การให้เอกชนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนารัฐวิสาหกิจมากขึ้น การเป็นเจ้าภาพ

การประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ครั้ง 46 ประจำปี

2534 การพัฒนาชนบท การพัฒนาการเกษตรและการปฏิรูปที่ดิน การเร่งรัดโครงสร้างพื้นฐาน

ด้านโทรศัพท์และโทรคมนาคม การปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 การดำเนินการขยาย

โอกาสทางการศึกษา การพัฒนาระบบอุดมศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว การแยก

รัฐวิสาหกิจออกจากกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนา

สิ่งแวดล้อม การสำรวจผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้พลังงานภารกิจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง

คือ การจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 โดยได้ริเริ่มจัดตั้ง

องค์กรกลางเพื่อสอดส่องดูแลการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมมากขึ้น

นายอานันท์ ปันยารชุน พันจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญแห่ง

ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2535 เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่

22 มีนาคม 2535 และต่อจากนั้นได้รักษาการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจวบจนกระทั่ง

พลเอก สุจินดา คราประยูร และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้เริ่มปฏิบัติงาน เมื่อวันที่ 22

เมษายน 2535 ต่อมาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2535 พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ลาออก

จากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองและเหตุการณ์ไม่สงบ

ภายในประเทศ

จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายอานันท์ ปันยารชุน

ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2535 เพื่อแก้ปัญหา

ของบ้านเมืองและบริหารราชการมาจนกระทั่งมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่ว

ประเทศในวันที่ 13 กันยายน 2535 และพ้นจากตำแหน่งไปตามวาระ เมื่อวันที่ 22 กันยายน

2535 เนื่องจากมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ในวันที่ 23 กันยายน 2535 หลังจากนั้น

นายอานันท์ ปันยารชุน ได้หวนกลับคืนสู่ภาคธุรกิจอีกครั้ง

ในด้านการปฏิรูปการเมืองนั้น นายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีบทบาทสำคัญในการ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 และด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท

ในการรณรงค์ส่งเสริมประชาธิปไตยและการปราบปรามการคอร์รัปชั่นมาอย่างต่อเนื่อง

ทำให้ท่านได้รับรางวัลแม็กไซไซ สาขารัฐบริการ จากมูลนิธิรางวัลรามอนแม็กไซไซ และ

ยังได้รับรางวัล "บุคคลแห่งปี ประจำปี 2540" อีกด้วย



นายกรัฐมนตรีคนที่ 19 พลเอก สุจินดา คราประยูร



พลเอก สุจินดา คราประยูร เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2476 เวลาประมาณ

03.35 น. ที่จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของนายจวง กับนางสมพงษ์ คราประยูร สมรสกับ

คุณหญิงวรรณี คราประยูร (หนุนภักดี)

พลเอก สุจินดา จบการศึกษาชั้นมัญยมปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดราชบพิธแล้ว

ได้ศึกษาต่อที่โรงเรียนอำนวยศิลป์จนจบมัธยมปีที่ 8 สอบเข้าเรียนเตรียมแพทย์ที่

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรียนได้เพียงปีเดียวจึงไปสอบเข้าโรงเรียนเตรียมทหาร และ

เข้าเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า หลักสูตรเวสท์ปอยต์รุ่นที่ 5 ตามลำดับ

และได้จบหลักสูตรผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่จากฟอร์ทซิลส์ รัฐโอคลาโฮม่า

สหรัฐอเมริกา สำเร็จหลักสูตรเสนาธิการทหารบกรุ่นที่ 44 เป็นอันดับที่ 1 สำเร็จการศึกษา

หลักสูตรเสนาธิการทหารบกสหรัฐอเมริกาจากฟอร์ดลีเวนเวิร์ธ

พลเอก สุจินดา เริ่มเข้ารับราชการทหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2496 ได้รับพระราชทานยศ

ว่าที่ร้อยตรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2501 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองพันทหาร

ปืนใหญ่ที่ 21 และก้าวหน้าในหน้าที่ราชการในตำแหน่งอาจารย์โรงเรียนเสนาธิการทหารบก

เจ้ากรมยุทธการทหารบก ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายยุทธการ รองเสนาธิการ ทหารบก

ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รองผู้บัญชาการทหารบก และวันที่ 29 เมษายน 2533 ดำรง

ตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก จนเมื่อถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2534 จึงได้ดำรงตำแหน่ง

ผู้บัญชาการทหารสูงสุดอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อจากพลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ที่เกษียณอายุ

พลเอก สุจินดา เป็นบุคคลสำคัญในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ

ที่เข้ายึดอำนาจการปกครองจากพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534

จนกระทั่งหลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2535 พรรคการเมือง

5 พรรค คือ พรรคสามัคคีธรรม พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม พรรคประชากรไทย และ

พรรคราษฎร ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลและสนับสนุนให้พลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี

พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่ง

นายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2535 เมื่อเข้าดำรงตำแหน่ง

พลเอก สุจินดา ได้ถูกคัดค้านจากกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหลายกลุ่ม จนกระทั่งเกิด

เหตุการณ์ไม่สงบภายในประเทศขึ้น พลเอก สุจินดา จึงลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 24

พฤษภาคม 2535 เพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นไปโดยอิสระและเพื่อแสดงความ

รับผิดชอบทางการเมือง

อย่างไรก็ตาม นายมีชัย ฤชุพันธ์ รองนายกรัฐมนตรีได้ทำหน้าที่รักษาการ

นายกรัฐมนตรีไทยเป็นการชั่วคราว จนกระทั่งมีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันที่

10 มิถุนายน 2535

คณะรัฐมนตรี คณะที่ 48 ของรัฐบาลพลเอก สุจินดา คราประยูร จึงพ้นจาก

ตำแหน่งไปตามวาระ

 นายกรัฐมนตรีคนที่ 20  นายชวน หลีกภัย





ประวัติ
เกิดวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2481
ตำบลท้ายพรุ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนวัดควนวิเศษ จังหวัดตรัง
มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมวัดควนวิเศษ และโรงเรียนตรังวิทยา
สำเร็จการศึกษาโรงเรียนศิลปศึกษา แผนกจิตรกรรมและประติมากรรม เตรียมมหาวิทยาลัยศิลปากร
พ.ศ. 2505 นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2507 เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษาทางกฎหมาย แห่งเนติบัณฑิตสภา สมัยที่ 17
พ.ศ. 2528 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2530 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2536 ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2537 ดุษฎีบัณฑิต สาขาวรรณกรรม (ภาพเขียน) มหาวิทยาลัยศิลปากร

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 50 : 23 กันยายน 2535 - 12 กรกฎาคม 2538
สมัยที่ 2 : คณะรัฐมนตรี คณะที่ 53 : 9 พฤศจิกายน 2540 - 17 พฤศจิกายน 2543

ประวัติการทำงาน
ทนายความ

บทบาททางการเมือง
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตรัง
พ.ศ. 2518 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2519 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2523 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
พ.ศ. 2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
พ.ศ. 2525-2526 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2526-2529 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2529-2531 ประธานสภาผู้แทนราษฎร
พ.ศ. 2531-2532 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. 2533 รองนายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2535-2538 นายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2539 - 2540 ผู้นำฝ่ายค้าน
9 พฤศจิกายน 2540 - 2544 นายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2522 ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2523 ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2524 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2525 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2539 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2541 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ต่างประเทศ
พ.ศ. 2536 Order of Sukatuna (Special Class), Raja สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
พ.ศ. 2542 Order of the Sun (Grand Cross) สาธารณรัฐเปรู
พ.ศ. 2542 Grand Cross of the Order of Christ สาธารณรัฐโปรตุเกส
พ.ศ. 2543 Jose Dolores Estrada, Batalla de San Jacinto (Gran Cruz) สาธารณรัฐนิการากัว
พ.ศ. 2543 Romania's Star - The High Cross ประเทศโรมาเนีย
 


 นายกรัฐมนตรีคนที่ 21  นายบรรหาร ศิลปอาชา






ประวัติ
วันเกิด 19 ธันวาคม 2475
ที่ จังหวัดสุพรรณบุรี
สัญชาติ ไทย
ศาสนา พุทธ

การศึกษา
พ.ศ.2517 ปริญญาโททางด้านกฏหมาย
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ประวัติการทำงาน
พ.ศ.2538 นายกรัฐมนตรี
พ.ศ.2536 - 2538 หัวหน้าพรรคชาติไทย
พ.ศ.2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
พ.ศ.2533 - 2534 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
พ.ศ.2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
พ.ศ.2531 - 2533 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
พ.ศ.2529 -2531 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
พ.ศ.2523-2524 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ.2523 เลขาธิการพรรคชาติไทย
พ.ศ.2519 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี
พ.ศ. 2518 วุฒิสมาชิก
 

นายกรัฐมนตรีคนที่ 22  พลเอก ชวลิต  ยงใจยุทธ

 

ประวัติ
วันเกิด 15 พฤษภาคม 2475
ที่ จังหวัดนนทบุรี
สัญชาติ ไทย
ศาสนา พุทธ

การศึกษา
พ.ศ. 2496 โรงเรียนนายร้อยพระจุลอมเกล้า
พ.ศ. 2505 หลักสูตรผู้บังคับกองพัน โรงเรียนทหารสื่อสาร
พ.ศ. 2506 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2507 โรงเรียนเสนาธิการทหารบก
ฟอร์ท ลีเวนเวินร์ธ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2511 สำเร็จหลักสูตรกระโดดร่มชั้น
Novice ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. 2511 สำเร็จหลักสูตรกระโดดร่มนาย
ทหาร ชั้นผู้ใหญ่ (รุ่นที่ 2)

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2531 นาวิกโยธิน กรมนักเรียนนายเรืออากาศรักษาพระองค์ โรงเรียน
นายเรืออากาศ, กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ กองพันอากาศโยธิน, รักษา
พระองค์ กรมอากาศโยธิน
พ.ศ. 2530 ตุลาการทหารสูงสุด, นายกองเอก กองอาสารักษาดินแดน
นายทหารพิเศษ กองนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ โรงเรียนนายเรือ
นายทหารพิเศษ กองบัญชาการ กรมทหารราบที่ 3 รักษาพระองค์
นายทหารพิเศษ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
พ.ศ. 2530 รักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองบัญชาการทหารสูงสุด
กระทรวงกลาโหม
พ.ศ. 2529 ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2529 นายทหารพิเศษ กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
นายทหารพิเศษ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
นายทหารพิเศษ กรมนักเรียนนายร้อย รักษาพระองค์ โรงเรียนนายร้อย พระจุล
จอมเกล้าฯ
พ.ศ. 2528 เสนาธิการทหารบก (พลเอก)
พ.ศ. 2526-2533 สมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. 2526 กรมทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2526 รองเสนาธิการทหารบก, ผู้อำนวยการศูนย์ยุทธการ กองทัพบก
หัวหน้าฝ่ายยุทธการ ศูนย์ปฏิบัติการ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงแห่งชาติ
ราชองครักษ์พิเศษ
นายทหารพิเศษ กรมมหาดเล็กที่ 31
นายทหารพิเศษ กรมทหารราบที่ 1
พ.ศ. 2525 ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ
พ.ศ. 2524 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
พ.ศ. 2524 ประธานกรรมการ คณะกรรมการศึกษาเรื่องพลังงานทรัพยากร และ
สิ่งแวดล้อม
พ.ศ. 2524 หัวหน้าฝ่ายยุทธการ กองอำนวยการร่วมรักษาความสงบแห่งชาติ
พ.ศ. 2524 เจ้ากรม กรมยุทธการทหารบก
พ.ศ. 2522 นายทหารคนสนิทรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก เปรม
ติณสูลานนท์) และประจำกองบัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2512-2515 ปฏิบัติราชการพิเศษปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
พ.ศ. 2511 นายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำกรม กรมยุทธการทหารบ
พ.ศ. 2510 นายทหารฝ่ายยุทธการและการฝึก กรมทหารอาสาสมัคร
พ.ศ. 2510 ปฏิบัติราชการสงครามเวียดนาม
พ.ศ. 2503 ผู้บังคับกอง กองร้อยซ่อมบำรุงเครื่องสื่อสารเขต
พ.ศ. 2494 ปฏิบัติราชการพิเศษกรณีปราบจลาจล
ปฏิบัติราชการพิเศษในการยับยั้งการรุกรานของฝ่ายคอมมิวนิสต์

บทบาททางการเมือง
30 มี.ค 2533 -21 มิ.ย 2533 รองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม (สมัยรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย)
25 ต.ค. 2535 - ปัจจุบัน หัวหน้าพรรคความหวังใหม่
2535/1-2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นนทบุรี เขต 1 พรรคความหวังใหม่
15 พ.ค. 2535 - 12 ก.ย.2535 ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
29 ก.ย. 2535 - 11 ธ.ค. 2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (สมัยรัฐบาล ชวน 1-2)
23 ก.ย.2536 - 7 ม.ค.2537 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและ สวัสดิการสังคม
14 ก.ค. 2537 - 25 ต.ค. 2537 รองนายกรัฐมนตรี
ผู้รับกระแสพระราชดำรัสให้ดำเนินการโครงการน้ำพระทัยจากในหลวง หรือโครงการอีสานเขียว โครงการพัฒนาดอยตุง โครงการฮารับปันมารู
ก.ค. 2538 - ก.ย. 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครพนม เขต 1 พรรคความหวังใหม่
18 ก.ค. 2538 - ก.ย. 2539 รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม (สมัยรัฐบาลนายบรรหาร)
2538 - ปัจจุบัน ประธานการกีฬาแห่งประเทศไทย
17 พ.ย. 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นครพนม เขต 1 พรรคความหวังใหม่
25 พ.ย. 2539 นายกรัฐมนตรีคนที่ 22 ของประเทศไทย
29 พ.ย. 2539 - พ.ย. 2540 นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ปัจจุบัน ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน

นายกรัฐมนตรีคนที่ 23   ทักษิณ  ชินวัตร


 
ประวัติ
วันเกิด 26 กรกฏาคม 2492
ที่ จังหวัดเชียงใหม่
สัญชาติ ไทย
ศาสนา พุทธ

การศึกษา
โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
อุดมศึกษา
พ.ศ. 2512 โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 10
พ.ศ. 2516 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26 โดยสอบได้คะแนน เป็นที่ 1
ปริญญาโท
ได้รับทุนรัฐบาล (ทุน ก.พ.) Eastern Kentucky University สหรัฐอเมริกา สาขา Criminal Justice
ปริญญาเอก
Sam Houston State University สหรัฐอเมริกา สาขา Criminal Justice

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2541 - 2543 ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคไทยรักไทย
พ.ศ. 2539 - 2540 ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี (ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ)
เข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี รับผิดชอบงานด้านจราจร (ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา)
เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม
พ.ศ. 2537 - 2538 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศ
พ.ศ. 2530 - 2537 ลาออกจากราชการเพื่อประกอบธุรกิจส่วนตัว ประธานกรรมการ บริษัท ชินวัตร คอมพิวเตอร์ จำกัด
พ.ศ. 2516 - 2530 รองผู้กำกับการนโยบายและแผนงาน/ กองบังคับการอำนวยการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล

บทบาททางสังคม
รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการผู้ทรง คุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย 6 แห่ คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์
เป็นผู้ก่อตั้งมูลนิธิไทยคม และ เป็นผู้ริเริ่มแนวความคิดที่จะนำ ดาวเทียมสื่อสาร "ไทยคม" มาใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา ผ่านดาวเทียม เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กชนบทผู้ยากไร้ที่ไม่สามารถ เรียนต่อ ได้มีโอกาสเรียนต่อในท้องถิ่นของตนเอง ทั้งนี้โดยได้ รับความร่วมมือจากกรม การศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ เป็นกรรมการอำนวยการ สถาบันเอเชียการศึกษา
ปี 2538 - ปัจจุบัน
กรรมการสภาที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กรรมการที่ปรึกษา BANGKOK CLUB
กรรมการอำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รางวัลเกียรติคุณ
2539 - ได้รับรางวัล "Outstanding Criminal Justice Alumnus Awards" จาก Criminal Justice Center, Sam Houston State University และได้รับรางวัล "Distinguished Alumni Award" จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2539
2538 - ได้รับคัดเลือกไปเป็น 1 ใน 3 คนไทยดีเด่นซึ่งมีบทบาท สำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศไทย และฟิลิปปินส์ เข้ารับรางวัลจากสถานฑูตฟิลิปปินส์
2537 - ได้รับรางวัล "บุคคลดีเด่นผู้พัฒนาโทรคมนาคมเพื่อ สังคมของประเทศไทย ประจำปี 2536" จากสมาคมโทรคมนาคม แห่งประเทศไทย
ได้รับยกย่องจากหนังสือพิมพ์ Singapore Business Times ให้ เป็น 1 ใน 12 นักธุรกิจผู้นำของเอเชีย
ได้รับคัดเลือกจากนิตยสาร Financial World ที่มีชื่อเสียงของ สหรัฐอเมริกาให้เป็นหนึ่งใน Asian CEO of the Year ได้รับ พระราชทานปริญญา วารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ได้รับคัดเลือกให้เป็นคนไทยคนแรกและเป็นบุคคลที่ 3 ที่ ได้รับทุน " Lee Kuan Yew Exchange Fellowship " จากประเทศสิงคโปร์ 2535
ได้รับรางวัล "1992 Asean Business Man of the Year" จาก Asean Institute ประเทศอินโดนีเซีย
ได้รับรางวัล "เกียรติยศจักรดาว" ด้านพัฒนาเศรษฐกิจจาก คณะกรรมการมูลนิธิโรงเรียนเตรียมทหาร

 นายกรัฐมนตรีคนที่ 24  สุรยุทธ์  จุลานนท์



 

ประวัติ
วันเกิด 28 สิงหาคม 2486
สถานภาพ สมรสกับ พ.อ.หญิง คุณหญิง จิตรวดี จุลานนท์ (สกุลเดิม "สันทัดเวช")

การศึกษา
โรงเรียนเซนต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์
โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
โรงเรียนเตรียมทหารรุ่น 1
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 12
โรงเรียนศูนย์การทหารราบ
โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สหรัฐอเมริกา
หลักสูตรการบริหารทรัพยากร กระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกา
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 36 (2536)

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2508 ประจำศูนย์การทหารราบ
พ.ศ. 2509 ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองพันทหารราบที่ 1 กรมผสมที่ 31
พ.ศ. 2513 ผู้บังคับชุดปฏิบัติการ กองร้อยรพิเศษ กองรบพิเศษ (พลร่ม) ที่ 2
พ.ศ. 2515 ครูโรงเรียนสงครามพิเศษ ศูนย์สงครามพิเศษ
พ.ศ. 2521 ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 4 กรมผสมที่ 23
พ.ศ. 2526 ผู้บังคับการกรมรบพิเศษที่ 1 กองพลรบพิเศษที่ 1
พ.ศ. 2532 ผู้บัญชาการกองรบพิเศษที่ 1
พ.ศ. 2535 ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ
พ.ศ. 2537 แม่ทัพภาคที่ 2
พ.ศ. 2540 ที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพบก
พ.ศ. 2540 ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพบก
พ.ศ. 2541–2545 ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2545–2546 ผู้บัญชาการทหารสูงสุด
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
พ.ศ. 2546 กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล

ตำแหน่งพิเศษ
พ.ศ. 2526 ราชองค์รักษ์เวร
นายทหารคนสนิท นายกรัฐมนตรี (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)
พ.ศ. 2531 นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2535 และ 2539 สมาชิกวุฒิสภา ครั้งที่ 1 และ 2

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเหรียญกล้าหาญ
พ.ศ. 2517 เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1
พ.ศ. 2533 เหรียญกล้าหาญ รามาธิบดี (รามมาลา)
พ.ศ. 2535 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2538 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2539 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
พ.ศ. 2544 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

นายกรัฐมนตรีคนที่ 25  สมัคร  สุนทรเวช







ประวัติ
วันเกิด 13 มิถุนายน 2478
สถานภาพ สมรสกับ คุณหญิงสุรัตน์ สุนทรเวช

การศึกษา
ก่อนประถม โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม
ประถม โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา
มัธยม โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
อาชีวะ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
อุดมศึกษา นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศึกษาเพิ่มเติม
ประกาศนียบัตรวิชามัคคุเทศก์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Dip. in Accounting and Business Administration จาก Bryant & Stratton College สหรัฐอเมริกา

ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2496 : เจ้าหน้าที่สอนเครื่องลงบัญชีไฟฟ้า National Cash Registered Co.,Ltd. (พ.ศ. 2496-2497)
พ.ศ. 2497 : เสมียนแผนกรถยนต์ และภายหลังดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Barrow Brown Co.,Ltd. (พ.ศ. 2497-2502)
พ.ศ. 2502 : ผู้ช่วยหัวหน้าแผนกเครื่องอะไหล่ Loxley Bangkok Co.,Ltd. (พ.ศ. 2502-2504)
พ.ศ. 2504 : Free Lance Guide, World Travel Service Co.,Ltd. (พ.ศ. 2504-2506)
พ.ศ. 2507 : ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัทเอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2507-2509)
พ.ศ. 2510 : Dietary Aid, Fox Rever Rehabilitation Hospital, Chicago U.S.A. (พ.ศ. 2510-2511)
พ.ศ. 2512 : ผู้จัดการแผนกเครื่องอะไหล่ บริษัท เอื้อวิทยาพาณิชย์ จำกัด (พ.ศ. 2512-2513)
พ.ศ. 2513 : ผู้บริหารฝ่ายขาย John Deere Thailand Co.,Ltd. (พ.ศ. 2513-2514)
พ.ศ. 2514 : เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สถานเอกอัครราชทูตอิสราเอล ประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2514-2516)
พ.ศ. 2516 : ลาออกจากงานประจำและทำงานการเมืองอย่างเดียวเรื่อยมา เนื่องจากภรรยามีรายได้มั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวแล้ว

ประวัติทางการเมือง
พ.ศ. 2511 : เข้าเป็นสมาชิก พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2511 - 2519)
พ.ศ. 2514 : สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร (ได้รับเลือกตั้ง เมื่อ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2514)
พ.ศ. 2516 : สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 10 ธ.ค.16) และ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ได้รับแต่งตั้งเมื่อ 23 ธ.ค.16)
พ.ศ. 2518 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ม.ค. 2518)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
พ.ศ. 2519 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2519)
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พ.ศ. 2519 - 2520)
พ.ศ. 2522 : ก่อตั้งพรรคประชากรไทย และดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2522)
ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง และสถาบันการเงิน (พ.ศ. 2523 - 2526)
พ.ศ. 2526 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (เม.ย. 2526)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2526 - 2529)
พ.ศ. 2529 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2529)
ประธานคณะกรรมาธิการการปกครอง (พ.ศ. 2529 - 2531)
พ.ศ. 2531 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2531)
ประธานคณะกรรมาธิการการเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2531 - 2533)
พ.ศ. 2533 : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (พ.ศ. 2533 - 2534)
พ.ศ. 2535 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (มี.ค. 2535) (ก.ย. 2535)
ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (พ.ศ. 2535 - 2538)
พ.ศ. 2538 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (ก.ค. 2538)
พ.ศ. 2539 : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร (พ.ย. 2539)
พ.ศ. 2543 : ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (พ.ศ. 2543 - 2547)
พ.ศ. 2550 : รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน)
พ.ศ. 2551 : นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย (พ.ศ. 2551 - ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2517 : ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2518 : ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2519 : ทวีติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2520 : รัตนาภรณ์ (ชั้นที่ ๒ )
พ.ศ. 2522 : ประถมาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2524 : ประถมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2526 : มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2527 : ทุติยจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2527 : มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2539 : ปฐมดิเรกคุณาภรณ์
พ.ศ. 2545 : ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ


 นายกรัฐมนตรีคนที่ 26  สมชาย  วงศ์สวัสดิ์




 

ประวัติ
เกิด 31 สิงหาคม พ.ศ. 2490 (อายุ 61 ปี)
สถานภาพ สมรสกับ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์

การศึกษา
โรงเรียนอำนวยศิลป
นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เนติบัณฑิตไทย (นบท.) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
ปริญญาบัตร หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 38 และในปี 2545 รัฐประศาสนศาสตร์ มหาบัณฑิต หลักสูตรการจัดการภาครัฐและภาคเอกชนมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ประวัติการทำงาน
หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วสอบบรรจุเข้าเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษา กระทรวงยุติธรรม เมื่อ พ.ศ. 2517 ต่อมาได้เป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาประจำกระทรวง พ.ศ. 2518 ผู้พิพากษาศาลแขวงเชียงใหม่ พ.ศ. 2519 จากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งเป้นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2520 แล้วจึงย้ายไปเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดเชียงราย พ.ศ. 2526 จากนั้นย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพังงา พ.ศ. 2529 ต่อมาได้เป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลคดีเด็กและเยาวชนจังหวัดระยอง พ.ศ. 2530 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2531 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2532 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอาญาธนบุรี พ.ศ. 2533 เลื่อนตำแหน่งผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 พ.ศ. 2536 ย้ายไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลอุทธรณ์ภาค 2 พ.ศ. 2540
ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายวิชาการ พ.ศ. 2541 หลังจากนั้นได้ย้ายไปเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ฝ่ายบริหาร พ.ศ. 2542 หลังจากนั้นได้เลื่อนตำแหน่งสูงสุดเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม 11 พ.ย. 2542 หลังจากนั้นจึงย้ายไปเป็นปลัดกระทรวงแรงงาน 8 มี.ค. 2549 - ก.ย. 2549
หลังจากเกษียณอายุราชการแล้วได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขานิติศาสตร์ พ.ศ. 2542- 2549
กรรมการเนติบัณฑิตยสภา
ประธานคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้โทษ
กรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
กรรมการบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
กรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
กรรมการบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.)
กรรมการคณะกรรมการกฤษฎีกา
กรรมการคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
กรรมการคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
กรรมการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.)
กรรมการคณะกรรมการอัยการ (กอ.)
กรรมการคณะกรรมการตุลาการ
กรรมการคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ
กรรมการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

ประวัติทางการเมือง
ในปี พ.ศ. 2550 เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชาชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2551 ได้รับเลือกให้เป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี
17 กันยายน 2551 ได้รับการคัดเลือกจากสภาให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยผลการลงคะแนนปรากฏว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้ 298 เสียง ส่วนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ 163 เสียง งดออกเสียง 5 เสียง ทำให้นายสมชาย ได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งตามรัฐธรรมนูญ จึงได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 ของประเทศไทย

การปฏิบัติงาน
เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
ความมั่นคง
แก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาและสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีในภูมิภาค
จัดตั้งสภาเกษตรกรและสร้างระบบประกันความเสี่ยง
เศรษฐกิจ
แก้ไขปัญหาวิกฤติสถาบันการเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา
เร่งรัดการลงทุนที่สำคัญของประเทศ
สร้างกลไกในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากวิกฤติการเงินของโลกที่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้าย เงินทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว
สิทธิมนุษยชน
เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด ปราบปรามผู้มีอิทธิพล อบายมุขและสิ่งยั่วยุเยาวชน
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค
เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช ภายหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด
ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคพลังประชาชน ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 37 คน) เท่ากับว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย
จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมีมติให้ยุบพรรคมัฌชิมาฯ และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี (รวม 43 คน)
ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 ให้ยุบพรรคชาติไทยตามไปอีกพรรค โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่ามีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น (รวม 29 คน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2523 : ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
พ.ศ. 2527 : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2529 : ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2532 : ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2535 : มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
พ.ศ. 2540 : มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
พ.ศ. 2542 : เหรียญจักรพรรดิมาลา (จ.ม.ร.)
 

 นายกรัฐมนตรีคนที่ 27  อภิสิทธ์  เวชชาชีวะ


 

ประวัติ
เกิดวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2507 ที่ เมืองนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ
สถานภาพสมรสกับ ผศ.ดร.พิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะ

ประวัติการศึกษา
โรงเรียนอนุบาลยุคลธร
โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จน
โรงเรียนสเกทคลิฟ
โรงเรียนมัธยมอีตัน
มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ปริญญาตรีในสาขาวิชา ปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ระดับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง ปริญญาตรีนิติศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก
ประวัติการทำงาน
พ.ศ. 2530 - 2531 อาจารย์ประจำ (ยศร้อยตรี) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) เขาชะโงก จังหวัดนครนายก
พ.ศ. 2532 อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. 2533 - 2534 อาจารย์ประจำ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร

ประวัติทางการเมือง
นายอภิสิทธิ์ เริ่มต้นชีวิตการเมืองด้วยการเป็น อาสาสมัครช่วยหาเสียงให้กับ นายพิชัย รัตตกุล ในเขตคลองเตย ช่วงปิดภาคเรียนที่กลับมาเมืองไทย ต่อมาได้เข้าช่วยงานด้านวิชาการในเรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ ให้กับ นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น ก่อนจะลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็น ส.ส.กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2535 ขณะมีอายุได้เพียง 27 ปี ซึ่งนับว่าเป็น ส.ส. ที่มีอายุน้อยที่สุดในขณะนั้น และเป็น ส.ส.เพียงคนเดียวของ พรรคประชาธิปัตย์ ในเขตกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ภาคกลาง ท่ามกลางกระแส "มหาจำลองฟีเวอร์" กับการเป็นนักการเมือง "หน้าใหม่" ที่เพิ่งลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก

สามารถลำดับการดำรงตำแหน่งทางการเมืองของนายอภิสิทธิ์ได้ดังนี้
พ.ศ. 2535
ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 6 (สาทร ยานนาวา บางคอแหลม) 2 สมัย (2535/1 และ 2535/2)
ได้รับการแต่งตั้งเป็น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2535-2537)
พ.ศ. 2537 รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง (รองนายกฯ ศุภชัย พานิชภักดิ์)
พ.ศ. 2538
ส.ส. เขต 5 (ดินแดง ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2538-2539)
โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2538-2540)
พ.ศ. 2539 ส.ส. เขต 5 (ดินแดง ห้วยขวาง พระโขนง คลองตัน)
พ.ศ. 2540
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายกฯ ชวน หลีกภัย พ.ศ. 2540-2544)
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำกับดูแล สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
กำกับดูแล สนง.คณะกรรมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2541 ประธานคณะกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พ.ศ. 2542 ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2542-2548)
พ.ศ. 2544 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2544-2548)
พ.ศ. 2548 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548-2549)
ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548 - ปัจจุบัน)
ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (28 เมษายน พ.ศ. 2548)
พ.ศ. 2551 ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็น ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร (29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551)
พ.ศ. 2551 ได้รับการลงคะแนนเสียงจากสภาฯ ให้เป็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 27 (15 ธันวาคม พ.ศ. 2551)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
พ.ศ. 2535 : ตริตาภรณ์มงกุฏไทย (ต.ม.)
พ.ศ. 2526 : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
พ.ศ. 2538 : ประถมาภรณ์มงกุฏไทย (ป.ม.)
พ.ศ. 2541 : ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
พ.ศ. 2542 : มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)