14/3/54

ก้าวทันลกศึกษา 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

กฎหมายแพ่ง
 
 
 

กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือด ร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา            

กฎหมายพาณิชย์  คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น            

ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก            

เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมา รวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่ม หนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัด

กฎหมายอาญา




กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น
                ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ




ข้อแตกต่างระหว่างกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง
 
 
 
 
หลายครั้งที่มักจะได้ยินคำถามว่า คดีไหนคือกฎหมายแพ่ง คดีไหนคือกฎหมายอาญา จะมีคำตอบที่เข้าใจง่ายๆ คือ กฎหมายอาญา ก็มีลักษณะที่เป็นอาชญา ที่ลงโทษผู้ที่ทำผิดที่มุ่งร้ายต่อชีวิต และทรัพย์สินซึ่งโทษพวกนี้มักจะมีการลงโทษให้จำคุก ต้องขังกันไปเช่นฆ่าคนตาย ข่มขืน พรากผู้เยาว์ ค้ายาเสพติด เป็นต้นส่วน กฎหมายแพ่งและพานิชย์ มักจะเป็นกฎหมายควบคุมผู้กระทำผิดที่มุ่งหวังทรัพย์สิน และศักดิ์ศรีของผู้อื่น บทลงโทษของกฎหมายแพ่งจึงมักจะเป็นการเรียกปรับ หรือสั่งให้ชดเชยค่าเสียหายให้แก่เจ้าทุกข์เป็นหลัก จะไม่มีการระวางโทษคุมขังจองจำ คดีแพ่งได้แก่ การยืมทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวง มรดก เป็นต้นทีนี้ ถ้าจะแยกดูก็จะเห็นข้อแตกต่างของกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา ดังนี้
ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียหาย หรือเกิดความหวาดหวั่นคร้ามแก่บุคคลทั่วไป ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประชาชนทั่วไป
ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด
กฎหมาย อาญานั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิด ฉะนั้น หากผู้ทำผิดตายลง การสืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง หรือการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป
ส่วน ความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่อง เกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล ดังนั้น เมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดตายลง ผู้เสียหายย่อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ จากกองมรดกของผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดได้ เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัวเช่น แดงจ้างดำวาดรูป ต่อมาดำตายลง ถือว่าหนี้ระงับลงความ รับผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ เนื่องจากการกระทำผิดดังที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 บัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำ โดยไม่มีเจตนา...”
ส่วนความรับผิดทางแพ่งนั้น ไม่ว่ากระทำโดยเจตนาหรือประมาทผู้กระทำก็ต้องรับผิดทั้งนั้นกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด ถ้าไม่มีกฎหมายย่อมไม่มีความผิดและไม่มีโทษ เพราะกฎหมายอาญามีโทษรุนแรงแต่ กฎหมายแพ่ง หลักเรื่องตีความโดยเคร่งครัดไม่มี กฎหมายแพ่งต้องตีความตามตัวอักษรหรือตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นั้น ๆ ดังนั้น การที่จะเป้นความผิดทางแพ่งนั้น ศาลอาจตีความขยายได้ความรับผิดทางอาญานั้น โทษที่จะลงแก่ตัวผู้กระทำผิดถึงโทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สินส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ เป็นเพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความ ผิดทางอาญาส่วนใหญ่ไม่อาจยอมความได้ เว้นแต่ความผิดต่อส่วนตัวหรือที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้ ความผิดอันยอมความได้เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดฐานยักยอก เป็นต้น เหตุผลก็คือ ความผิดทางอาญาถือว่าทำความเสียหายให้แก่มหาชน ทำลายความสงบสุขของบ้านเมือง ผู้เสียหายจึงไม่อาจยกเว้นความรับผิดให้ได้
ส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้เสียหายอาจยกเว้นความรับผิดให้ได้โดยไม่นำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล หรือเรียกร้องหนี้สินแต่อย่างใดเลยความ ผิดในทางอาญา บุคคลที่ร่วมกระทำผิดอาจมีความรับผิดมากน้อยต่างกันตามลักษณะของการเข้าร่วม เช่น ถ้าเป็นผู้ลงมือกระทำผิดก็ถือเป็นตัวการ ถ้าเพียงแต่ยุยงหรือช่วยเหลือก็อาจผิดเพียงฐานะผู้สนับสนุนส่วน ความผิดทางแพ่ง ผู้ที่ร่วมกันก่อหนี้ร่วมกันทำผิดสัญญาหรือร่วมกันทำละเมิดตลอดทั้งยุยงหรือ ช่วยเหลือ จะต้องร่วมกับรับผิดต่อเจ้าหนี้หรือผู้ได้รับความเสียหายเหมือนกันหมดความ รับผิดทางอาญา การลงโทษผู้กระทำผิดก็เพื่อที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ชุมชนเป็น ส่วนรวม เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความหลาบจำและกลับตัวกลับใจเป็นคนดี อีกทั้งเพื่อป้องกันผู้อื่นมิให้เอาเยี่ยงอย่างส่วน ความรับผิดทางแพ่ง กฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เอกชนคนหนึ่งคนใด โดยเฉพาะ ซึ่งอาจได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ความเสียหายได้เกิดขึ้นอย่างใด กฎหมายก็ต้องการที่จะให้เขาได้รับการชดใช้ในความเสียหายอย่างนั้น ถ้าทำให้คืนสภาพเดิมไม่ได้ก็พยายามจะให้ใกล้เคียงมากที่สุดแต่ไม่ว่าจะแตกต่างกันอย่างไร จะผิดทางแพ่ง หรือผิดทางอาญา เชื่อว่า..ไม่มีใครอยากมีคดีความ ไม่ว่าจะแพ่งหรืออาญาก็ตาม





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น