14/3/54

Twilight แวมไพร์ ทไวไลท์

แวมไพร์ ทไวไลท์ ( Twilight)



แวมไพร์ ทไวไลท์ ( Twilight) เป็นภาพยนตร์อเมริกันปี พ.ศ. 2551 ซึ่งในส่วนของนิยาย Twilight ภาษาไทยก็ใช้ชื่อว่า  แรกรัติกาล เป็นงานเขียนของสเตเฟนี   เมเยอร์



ตัวละคร

  • เอ็ดเวิร์ด คัลเลน - แวมไพร์หนุ่มผู้เพียบพร้อม มีเสน่ห์ต่อสาวๆ ทุกคน มีความสามารถในการอ่านใจ และสามารถสะกดจิตได้โดยสายตา ครั้งเป็นมนุษย์กำลังจะตายด้วยไข้หวัดใหญ่สเปน คาร์ไลล์จึงช่วยไว้โดยเปลี่ยนเอ็ดเวิร์ดเป็นแวมไพร์
  • เบลล่า สวอน - เด็กสาวที่ย้ายมาจากเมืองฟีนิกซ์ รัฐอริโซน่า ไม่ธรรมดาเพราะมีความสามารถในการสกัดใจโดยที่เธอเองก็ไม่รู้ตัว
  • ชาร์ลี สวอน - พ่อของเบลล่า เป็นสารวัตเมืองฟอร์คส
  • เรเน่ - แม่ของเบลล่า เกลียดอากาศที่หนาวเย็นฝนตกเฉอะแฉะ จึงเลิกกับชาร์ลีไปแต่งงานใหม่
  • ฟิล - สามีใหม่เรเน่
  • เจมส์ - ศัตรูของเอ็ดเวิร์ด มีความสามารถในเรื่องสามารถตามหาบุคคลที่ต้องการจะเจอได้
  • วิคตอเรีย - ศัตรูของเอ็ดเวิร์ด คู่รักของเจมส์
  • ลอเรนท์ - ศัตรูของเอ็ดเวิร์ด พอมีด้านดีอยู่ในตัวบ้าง
  • เอสเม่ คัลเลน - แม่บุญธรรมของเอ็ดเวิร์ด มีความสามารถที่จะมอบความรักให้แก่บุคคลรอบข้าง
  • ดร.คาร์ไลล์ คัลเลน - พ่อบุญธรรมของเอ็ดเวิร์ด มีความเมตตา เป็นคนที่ทำให้เอ็ดเวิร์ดกลายเป็นแวมไพร์
  • เอ็มเม็ตต์ คัลเลน - พี่ชายเอ็ดเวิร์ด มีพละกำลังมหาศาล
  • โรซาลี เฮล - พี่สาว (พี่สะใภ้) เอ็ดเวิร์ด คู่รักเอ็มเม็ตต์ แฝดผมทองแจสเปอร์
  • อลิซ คัลเลน - น้องสาวเอ็ดเวิร์ด มีความสามารถในการมองเห็นอนาคต แต่ความสามารถไม่ตายตัว เพราะอนาคตเปลี่ยนแปลงได้เสมอ
  • แจสเปอร์ เฮล - คู่รักอลิซ แฝดผมทองโรซาลี เพิ่งเลิกดื่มเลือดมนุษย์ มีความรู้ด้านอุปนิสัยของแวมไพร์เกิดใหม่
  • เจคอบ แบล็ค - มนุษย์หมาป่า เป็นศัตรูกับเผ่าพันธุ์แวมไพร์ หลงรักเบลล่า
  • บิลลี่ แบล็ค - พ่อของเจคอบ เพื่อนชาร์ลี ไม่ถูกกับพวกคัลเลนเพราะเป็นเผ่าพันธุ์ศัตรู
  • ไมค์ นิวตัน - เพื่อนเบลล่า แอบชอบเบลล่า เคยชวนเบลล่าไปงานพร็อมแต่เบลล่าปฏิเสธเพราะไม่อยากทำร้ายจิตใจเจสสิก้า
  • เจสสิก้า แสตนลีย์ - เพื่อนเบลล่า แอบชอบไมค์ นิวตัน
  • เอริค - เพื่อนเบลล่า
  • แองเจล่า เวเบอร์ - เพื่อนเบลล่า

งานสร้าง

ขั้นพัฒนา

นิยายของสเตเฟนี เมเยอร์ เรื่อง แรกรัตติกาล ได้รับความสนใจจากเอ็มทีวีฟิล์มสในเครือพาราเมาท์พิกเจอร์ส ตั้งแต่เดือนเมษายน 2004 แต่บทภาพยนตร์และการพัฒนาบทค่อนข้างแตกต่างไปจากต้นฉบับ ทำให้เมเยอร์ไม่ตกลงที่จะทำ อย่างเช่นเบลล่าจะมีกล้องส่องในความมืดเป็นอุปกรณ์ และเธอยังเป็นนักวิ่งลมกรดสุดฮ็อตประจำโรงเรียน แต่นิยายเขียนไว้ว่า ความสามารถทางด้านกีฬาของเธอต่ำ เป็นต้น ต่อมาซัมมิตเอนเตอร์เทนเมนต์เข้ามาติดต่อหาเมเยอร์ และเริ่มพัฒนาบทในเดือนเมษายน 2007 ทางบริษัทเห็นว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเป็นโอกาสที่พวกเขาจะได้ออกสินค้าที่ เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ จากการประสบความสำเร็จของนิยายและในภาคต่อ ในฤดูร้อนปีเดียวกัน แคเธอรีน ฮาร์ดวิกได้รับการว่าจ้างให้มากำกับภาพยนตร์และเมลิซซา โรเซนเบิร์กมาเขียนบท
โรเซนเบิร์กพัฒนาโครงเรื่องเสร็จในช่วงปลายเดือนสิงหาคม และร่วมกับฮาร์ดวิกในการเขียนบทภาพยนตร์ในเดือนถัดมา แต่เนื่องจากการประท้วงของกลุ่มนักเขียนในอเมริกาที่ใกล้จะเข้ามาถึงทำให้โร เซนเบิร์กทำงานเต็มเวลาในการเขียนบทภาพยนตร์ให้เสร็จก่อน 31 ตุลาคม ในการดัดแปลงนิยายเรื่องนี้ ฮาร์ดวิกก็ยอมรับว่าถึงแม้จะพยายามซื่อตรงต่อต้นฉบับเพียงใด ก็ไม่สามารถถ่ายทอดทุกอย่างที่อยู่ในหนังสือลงบนแผ่นฟิล์มได้หมด บางตัวละครในบทประพันธ์ไม่ปรากฏในบทภาพยนตร์เรื่องนี้ อย่างเช่น ลอเรน มัลลอรี เพื่อนร่วมชั้นของเบลล่า
ฮาร์ดวิกได้ใช้การเล่าเรื่องจากมุมมองของเบลลา โดยใช้เสียงวอยซ์โอเวอร์ของนางเอกและเธอยังได้เขียนสตอรีบอร์ดตั้งแต่ขึ้นพรี-โปรดักชันอีกด้วย


การคัดเลือกนักแสดง

ฮาร์ดวิกได้เยี่ยมกองถ่ายทำอย่างไม่เป็นทางการในเรื่อง Adventureland ขณะที่คริสเตน สจ๊วตกำลังเข้าฉาก โดยเธอได้ทำการทดสอบบทซึ่งก็ทำให้ผู้กำกับหลงใหลในตัวเธอ ในเริ่มแรกฮาร์ดวิกไม่ได้จะเลือกโรเบิร์ต แพตตินสันให้รับบทเอ็ดเวิร์ด คูลเลน แต่หลังจากที่มาร่วมทดสอบบทที่บ้านของเธอ โดยเข้าบทเลิฟซีนกับสจ๊วตที่เตียงบ้านฮาร์ดวิก ก็ทำให้เขาตัดสินใจเลือกแพตตินสัน ตัวแพตตินสันเองไม่รู้จักนิยายเรื่องนี้ตั้งแต่แรกแต่หลังจากนั้นก็เอาหนังสือมาอ่าน เมเยอร์ยังอนุญาตให้เขาเห็นต้นฉบับที่ยังไม่เสร็จของ Midnight Sun ที่เป็นเหตุการณ์ในเรื่องจากมุมมองของเอ็ดเวิร์ด กระแสตอบรับของแฟนนิยายเมื่อรู้ว่าแพตตินสันมารับบทเป็นเอ็ดเวิร์ดในตอนแรก เป็นในทางต่อต้าน เมเยอร์กล่าวว่าเธอมีภาพเอ็ดเวิร์ดและเบลลาในหัวอยู่ชัดเจนมาก และยังกล่าวติดตลกว่า แต่พอเห็นคนที่มารับบทโดยเฉพาะโรเบิร์ต แพตตินสัน นั้นมันยากที่จะหาใครมารับบทนี้ และไม่แน่ใจว่าจะออกมาอย่างไร แต่พอเห็นรูปแพตตินสันแล้ว เขาก็พอรับเอ็ดเวิร์ดได้ เพราะพอจะดูมีอะไรเป็นแวมไพร์ได้

การถ่ายทำและขั้นตอนหลังการถ่ายทำ

การถ่ายภาพส่วนใหญ่ใช้เวลา 44 วัน หลังจากการซ้อมมากกว่า 1 สัปดาห์ จนเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2008เช่นเดียวกับผลงานกำกับภาพยนตร์เรื่องแรกของฮาร์ดวิกเรื่อง thirteen ใช้กล้องแบบกล้องแบบมือถือถ่าย เพื่อให้ความรู้สึกเหมือนจริง เมเยอร์ผู้เขียนนิยายได้เข้ามาร่วมกองถ่าย 3 ครั้ง และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องสิ่งที่แตกต่างไปของเนื้อเรื่องเธอยังได้มีบทเล็ก ๆ ในภาพยนตร์ นักแสดงที่แสดงเป็นแวมไพร์ได้รับคำแนะนำให้หลีกเลี่ยงแสงแดดเพื่อให้มีสีผิว ซีด และยังมีเมคอัพบ้าง และใส่คอนแทคเลนส์ ส่วนตาของครอบครัวคูลเลนใส่ตาสีทอง และเมื่อโกรธจะใส่สีแดง พวกเขายังได้ร่วมซ้อมกับนักเต้นและไปสังเกตการเคลื่อนไหวของเสือดาวเพื่อให้การเคลื่อนไหวของพวกเขาดูสง่างาม
การถ่ายทำส่วนใหญ่ ถ่ายทำในพอร์ตแลนด์ รัฐโอรีกอน และตัวละครส่วนใหญ่แสดงบทเสี่ยงด้วยตัวเองในฉากในห้องบัลเล่ต์ระหว่างไจกันเดต์และแพตตินสัน ถ่ายทำในสัปดาห์แรกของการถ่ายทำ ที่มีการใช้สายสลิงจำนวนมาก เพราะเป็นการแสดงเรื่องที่แวมไพร์เป็นยอดมนุษย์ที่ทั้งพละกำลังและความเร็ว
แทนที่จะถ่ายทำที่โรงเรียนฟอร์กสไฮสคูล แต่ได้ไปถ่ายทำที่คาลามาไฮสคูล และเมดิสันไฮสคูลและฉากอื่นถ่ายทำที่ St. Helens ในโอรีกอนและฮาร์ดวิกถ่ายทำบางฉากใหม่ที่พาซาดีนา ในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในเดือนสิงหาคม

ดนตรี

เพลงบรรเลงประกอบเรื่องนี้ประพันธ์โดย คาร์เตอร์ เบอร์เวลล์ และส่วนที่เหลือของเพลงประกอบเลือกโดยอเล็กซานดรา แพ็ตซาวาส เมเยอร์แนะนำเรื่องเพลงประกอลให้ใช้เพลงอย่างของวง มิวส์ ,ลินคิน พาร์ก วงที่เธอฟังขณะเขียนบทประพันธ์ อัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ออกขายเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน โดยช็อปช็อปเรกคอร์ดส ในเครือแอตแลนติกเรคคอร์ด อัลบั้มเข้าอันดับ 1 ในสัปดาห์แรกของชาร์ทบิลบอร์ด 200 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน


twilight 4 Breaking Dawn รุ่งอรุโณทัย

  twilight 4   Breaking Dawn  รุ่งอรุโณทัย


รุ่งอรุโณทัย แบ่งออกเป็นสามส่วนด้วยกัน ส่วนแรกเป็นรายละเอียดงานแต่งงานและดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของเบลล่าและเอ็ด เวิร์ด ซึ่งใช้เวลาส่วนมากบนเกาะส่วนตัวริมชายฝั่งของประเทศบราซิล เอ็ดเวิร์ดยินยอมมีสัมพันธ์รักตาม ความปรารถนาของเบลล่า หลังจากนั้นเบลล่าพบว่าเธอตั้งท้องและอัตราการเติบโตของเด็กรวดเร็วผิดปกติ หลังจากติดต่อกับคาร์ไลล์เพื่อยืนยันว่าเธอท้อง เบลล่าและเอ็ดเวิร์ดได้รีบกลับบ้านที่ฟอร์กส วอชิงตันโดย ทันที เอ็ดเวิร์ดกังวลมากเกี่ยวกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของตัวอ่อนในครรภ์และต้อง การให้เบลล่าทำแท้ง แต่เธอต้องการเก็บเด็กไว้และได้ติดต่อโรซาลีเพื่อให้เธอสนับสนุนเพราะรู้ว่า โรซาลีนั้นต้องการมีลูกเหมือนกัน

ในส่วนที่สองเขียนในมุมมองของเจคอบ หลังจากที่รู้ว่าเบลล่าท้อง ฝูงหมาป่าแห่งควิลยูตไม่รู้ว่าจะมีอันตรายแค่ไหนจึงวางแผนที่จะทำลายมันแม้ ว่ามันจะหมายถึงการฆ่าเบลล่าไปด้วยก็ตาม เจคอบได้คัดค้านการตัดสินใจนี้อย่างรุนแรงและได้แยกตัวออกจากฝูง และได้สร้างฝูงของเขาเองโดยมีลีอาห์และเซ็ทเป็นลูกฝูง ขณะที่ใกล้กำหนดคลอดเด็กได้หักกระดูกเบลล่าไปหลายท่อนและยังเสียเลือดไปมาก ในระหว่างคลอด เพื่อรักษาชีวิตเธอไว้ทำให้เอ็ดเวิร์ดต้องเปลี่ยนเธอเป็นแวมไพร์ เจคอบซึ่งได้อยู่ด้วยในขณะคลอดได้"ผูกวิญญาณ"กับลูกสาวแรกเกิดของเอ็ดเวิร์ด และเบลล่า เรเนสเม่
ในส่วนที่สามของ รุ่งอรุโณทัย กลับมาเขียนในมุมมองของเบลล่า หลังจากกลายเป็นแวมไพร์ เบลล่าได้พอใจในชีวิตและความสามารถใหม่ของเธอมาก อย่างไรก็ตาม แวมไพร์อิริน่าได่เข้าใจผิดว่าเรเนสเม่เป็น "เด็กอมตะ" เด็กที่ถูกเปลี่ยนเป็นแวมไพร์ และเนื่องจากเด็กอมตะไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้การสร้างเด็กอมตะเป็นเรื่องผิดกฎของโวลตูรี หลังจากอิริน่าได้แจ้งโวตูรี พวกเขามีแผนที่จะทำลายเรเนสเม่และครอบครัวคัลเลน ในความพยายามช่วยชีวิตเรเนสเม่


ครอบครัวคัลเลนได้รวบรวมแวมไพร์ทั่วโลกเพื่อมาเป็นพยานและพิสูจน์กับพวกโวตู ลีว่าเรเนสเม่ไม่ใช่เด็กอมตะ เมื่อเผชิญหน้ากับครอบครัวคัลเลนและพันธมิตร โวตูลีพบว่าเป็นการเข้าใจผิดและได้ลงโทษอิริน่าจากความผิดนั้น แต่พวกเขาก็ยังไม่แน่ใจว่าเรเนสเม่จะเป็นภัยคุกคามกับการรักษาความลับใน เรื่องการคงอยู่ของแวมไพร์หรือไม่ ในเวลานั้นอลิซและแจสเปอร์ที่จากไปก่อนการเผชิญหน้าได้กลับมาพร้อมนาฮูล ลูกครึ่งแวมไพร์-มนุษย์อายุ 150 ปีเหมือนกับเรเนสเม่ เขาช่วยคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้และชี้แจงว่าพวกลูกครึ่งนั้นไม่เป็น ภัยคุกคาม โวตูลีจึงจากไป เบลล่า,เอ็ดเวิร์ด และเรเนสเม่ได้กลับบ้านและอาศัยอยู่ด้วยความสงบสุข


Twilight 3 eclipse


Twilight 3 eclipse
 
 
 

เปิดเรื่องมาด้วยฆาตกรรมต่อเนื่องในเมืองซีแอตเติลที่ยังตามจับฆาตกรไม่ได้ ซึ่งเอ็ดเวิร์ดสงสัยว่าเกิดจากแวมไพร์อายุ น้อยที่ยังควบคุมความกระหายไว้ไม่ได้ ขณะที่เอ็ดเวิร์ดและเบลล่าได้สมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัย เบลล่าได้บอกเอ็ดเวิร์ดว่าเธอต้องการจะพบเจคอบ แบล็ค เพื่อนมนุษย์หมาป่าของ เธอ แม้ว่าเอ็ดเวิร์ดเป็นห่วงความปลอยภัยของเบลล่า เธอก็ยังยืนกรานว่าเจคอบและฝูงหมาป่าของเขาไม่มีทางทำอันตรายเธอและเธอยัง แอบไปพบเจคอบในบางครั้ง 

ขณะที่อลิซ คัลเลนได้มองเห็นอนาคตว่าวิคตอเรีย แวมไพร์ที่ต้องการแก้แค้นเบลล่าได้กลับมาที่ฟอร์กสแล้ว สองสามวันหลังจากนั้น เอ็ดเวิร์ดเสนอกับเบลล่าว่าให้แต่งงานกันก่อนที่จะทำให้เธอกลายเป็นแวมไพร์ เบลล่าตกลงแม้ว่าเธอจะไม่ชอบก็ตาม
เบลล่าและครอบครัวคัลเลนได้พบว่าฆาตกรรมต่อเนื่องในเมืองซีแอตเติลนั้น แท้จริงเกิดจากกองทัพแวมไพร์แรกเกิดที่ควบคุมโดยวิคตอเรีย ทำให้ครอบครัวคัลเลนต้องร่วมมือกับฝูงหมาป่าแห่งควิลยูตเพื่อต่อสู้กับความ คุกคามนี้ ขณะที่ทุกคนเตรียมจะต่อสู้ เอ็ดเวิร์ด, เบลล่า และ เจคอบได้เดินทางไปพักแรมในภูเขาเพื่อซ่อนตัวจากการต่อสู้


ในตอนเข้า เจคอบอารมณ์เสียเมื่อได้ยินเอ็ดเวิร์ดและเบลล่าคุยกันถึงการต่อสู้และต้อง การเข้าร่วมในการต่อสู้นั้น เพื่อหยุดเขาเบลล่าได้จูบเจคอบและรู้ความจริงว่าเธอรักเขา ในระหว่างการต่อสู้ วิคตอเรียได้ตามกลิ่นเอ็ดเวิร์ดจนมาถึงที่ซ่อนตัวของเบลล่า ทำให้เอ็ดเวิร์ดต้องต่อสู้กับเธอ หลังจากวิคตอเรียและกองทัพของเธอถูกทำลาย เธออธิบายกับเจคอบว่าถึงเธอจะรักเขาแต่เธอนั้นรักเอ็ดเวิร์ดมากกว่า และหลังจากได้ยินเรื่องแต่งงาน เจคอบได้กลายร่างเป็นหมาป่าแล้ววิ่งหนีไปเพื่อหลีกหนีจากความเจ็บปวดและโกรธ เบลล่าที่ตัดสินใจเป็นแวมไพร์



twilight 2  newmoon
 
 



เรื่อง

อิซซาเบลลา "เบลล่า" สวอน อายุ 18 ปีแล้ว อลิซ คัลเลนและเอ็ดเวิร์ด คัลเลน คน(แวมไพร์)รัก ของเธอได้จัดงานวันเกิดให้ ขณะที่เปิดห่อของขวัญ เธอเกิดโดนกระดาษบาด พี่ชายของเอ็ดเวิร์ด แจสเปอร์ เฮล ไม่สามารถทนความยั่วยวนของกลิ่นเลือดเธอได้ทำให้เขาได้โจมตีเธอ จากเหตุการณ์นั้น เพื่อปกป้องเบลล่าจากแวมไพร์ เอ็ดเวิร์ดจึงจบความสัมพันธ์กับเธอ เขาและครอบครัวจึงย้ายออกไปจากฟอร์กส วอชิงตัน เบลล่าโศกเศร้าอย่างมากเป็นเวลาหลายเดือน โดยมีเจคอบ แบล็คคอยปลอบโยนเพื่อให้เธอลืมความเจ็บปวดจากการสูญเสียเอ็ดเวิร์ด
เบลล่าและเจคอบพัฒนาความสัมพันธ์จนกลายเป็นเพื่อนสนิทกันในที่สุด เธอพบว่าเมื่อเธออยู่ในอันตราย เธอจะได้ยินเสียงของเอ็ดเวิร์ดในหัว ทำให้เธอยิ่งทำอะไรที่เสี่ยงอันตรายมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เธอก็ได้รู้ว่าเจคอบเป็นมนุษย์หมาป่า วันหนึ่งเจคอบและฝูงหมาป่าของเขาได้ช่วยเบลล่าจากแวมไพร์ลอเรนท์และวิคตอ เรีย ที่ต้องการแก้แค้นให้กับเจมส์คู่ของเธอที่ถูกฆ่าโดยครอบครัวคัลเลนใน แรกรัตติกาล


ความเข้าใจผิดทำให้เอ็ดเวิร์ดเข้าใจว่าเบลล่าฆ่าตัวตาย ด้วยความคลุ้มคลั่งเอ็ดเวิร์ดจึงไปอิตาลีเพื่อ แหย่โวลตูลี(ตระกลูแวมไพร์ที่รักษากฎของแวมไพร์)ให้โกรธเพื่อจะได้ฆ่าเขาซะ เบลล่าและอลิซได้รีบเดินทางไปอิตาลีเพื่อหยุดเอ็ดเวิร์ด และไปถึงทันเวลาพอดี ก่อนออกจากอิตาลี โวลตูลีบอกพวกเขาว่าเบลล่าที่รู้เรื่องแวมไพร์นั้นต้องตายหรือไม่ก็ต้องกลาย เป็นแวมไพร์ เมื่อกลับมาถึงฟอร์กส เอ็ดเวิร์ดบอกเบลล่าว่าที่เขาจากไปเพราะเขารักเธอและต้องการปกป้องเธอ เบลล่ายกโทษให้เขา ในตอนจบครอบครัวคัลเลนออกเสียงให้เปลี่ยนเบลล่าเป็นแวมไพร์หลังเธอเรียนจบ มัธยมปลาย ขณะที่เอ็ดเวิร์ดคัดค้านอย่างเต็ม
ที่



Twilight 1

ถ้าคุณมีชีวิตที่เป็นอมตะ คุณจะอยู่ไปเพื่ออะไร?

 
ชีวิตของเบลล่า สวาน (คริสเทน สจ๊วต) ดู จะต่างจากสาวในรุ่นเดียวกันกับเธอ เธอไม่เคยสนใจวัตถุภายนอก และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ในโรงเรียนมัธยมที่ฟินิกซ์ แต่เมื่อแม่ของเธอตัดสินใจที่จะแต่งงานใหม่ และต้องย้ายไปอยู่กับสามีที่ฟลอริด้า เธอจึงจำเป็นต้องย้ายไปอยู่กับพ่อ (บิลลี่ เบิร์ค) ที่เมืองฟอร์ค รัฐวอชิงตัน เธอไม่เคยคิดเลยว่า การย้ายครั้งนี้จะแตกต่างจากที่แล้วๆ มา แต่แล้วเธอก็พบกับ เด็กหนุ่มรูปงามที่ชื่อ เอ็ดเวิร์ด คัลเลน (โรเบิร์ต แพ๊ตทินสัน) ผู้ที่ทั้งมีความฉลาดและไหวพริบเป็นเลิศ เขาไม่เหมือนผู้ชายที่เธอเคยรู้จักมาก่อน และเธอก็รู้สึกว่าดวงตาของเขาสามารถมองทะลุได้ถึงในดวงใจเธอเลยทีเดียว
และแล้วความรักที่ไม่ธรรมดาของคนทั้งสองก็เริ่มเบ่งบาน และที่ไม่ธรรมดนั้นก็เป็นเพราะว่า เอ็ดเวิร์ดเป็นมนุษย์ที่สามารถวิ่งได้เร็วกว่าเสือชีตาร์ เขาสามารถหยุดรถได้ด้วยมือเปล่า และอายุของเขาก็ไม่เพิ่มขึ้นเลยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1918 ใช่แล้วเขาคือแวมไพร์ และก็เหมือนกับแวมไพร์ทั่วไป "เขาเป็นอมตะ" เพียงแต่ว่า เขาไม่มีเขี้ยวและไม่ดื่มเลือดมนุษย์ดังเช่นแวมไพร์ตัวอื่นๆ ซึ่งการดำรงชีวิตของเขานั้นก็อยู่ได้ด้วยการล่าหมี หรือล่าสิงโตภูเขาในป่าลึกเท่านั้น
สำหรับเอ็ดเวิร์ดแล้ว เบลล่าคือหญิงสาวที่เขารอคอยมากว่า 90 ปี เธอเปรียบเสมือน "คู่แท้" ของเขา แต่ยิ่งเขาอยู่ใกล้เธอมากเท่าไใด สัญชาตญาณดิบของเผ่าพันธ์แวมไพร์ ที่มีต่อเหยื่อซึ่งก็คือมนุษย์ ก็ยิ่งรุนแรงมากขึ้น และเรื่องมันก็ยิ่งเลวร้ายขึ้นไปอีก เมื่อศัตรูคู่อาฆาตของเอ็ดเวิร์ดที่มีทั้ง เจมส์ (แคม จิแกนเด็ท) โลรอง (อีดี้ กาเทกี้) และวิคตอเรีย (ราเชล เลอเฟอริม) ก็ได้เดินทางมาถึงเมืองที่เขาอยู่ ก็ลองดูสิว่ารักแท้ จะสามารถกุมชัยชนะให้เหนือทุกสิ่งได้หรือไม่ หรืว่ามันจะจบลงแบบโศกนาฎกรรมดังเช่นเรื่อง "โรมิโอ" และ "จูเลียต " 

ก้าวทันลกศึกษา 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

กฎหมายแพ่ง
 
 
 

กฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือด ร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา            

กฎหมายพาณิชย์  คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล อันเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจและการค้า โดยวางระเบียบเกี่ยวพันทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น การตั้งหุ้นส่วนบริษัท การประกอบการรับขน และเรื่องเกี่ยวกับตั๋วเงิน (เช่น เช็ค) กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจำนอง การจำนำ เป็นต้น            

ในปัจจุบันกฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของประเทศไทย ได้บัญญัติรวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกัน เรียกชื่อว่า "ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์" แบ่งออกเป็น 6 บรรพ คือ บรรพ 1 ว่าด้วยหลักทั่วไป บรรพ 2 ว่าด้วยหนี้ บรรพ 3 ว่าด้วยเอกเทศสัญญา บรรพ 4 ว่าด้วยทรัพย์สิน บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัวและบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก            

เหตุที่ประเทศไทยมีการจัดทำประมวลกฎหมายโดยการนำเอากฎหมายแพ่งมา รวมกับกฎหมายพาณิชย์เป็นฉบับเดียวคล้ายกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยไม่ได้แยกเป็นประมวลกฎหมายแพ่งเล่มหนึ่งและประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกเล่ม หนึ่งดังเช่นประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เพราะการค้าพาณิชย์ในขณะที่ร่างกฎหมายยังไม่เจริญก้าวหน้า อีกทั้ง หลักทั่วไปบางอย่างในกฎหมายแพ่งก็สามารถนำไปใช้กับกฎหมายพาณิชย์ได้ ความจำเป็นที่จะต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยจัด

กฎหมายอาญา




กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น
                ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ




ข้อแตกต่างระหว่างกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง
 
 
 
 
หลายครั้งที่มักจะได้ยินคำถามว่า คดีไหนคือกฎหมายแพ่ง คดีไหนคือกฎหมายอาญา จะมีคำตอบที่เข้าใจง่ายๆ คือ กฎหมายอาญา ก็มีลักษณะที่เป็นอาชญา ที่ลงโทษผู้ที่ทำผิดที่มุ่งร้ายต่อชีวิต และทรัพย์สินซึ่งโทษพวกนี้มักจะมีการลงโทษให้จำคุก ต้องขังกันไปเช่นฆ่าคนตาย ข่มขืน พรากผู้เยาว์ ค้ายาเสพติด เป็นต้นส่วน กฎหมายแพ่งและพานิชย์ มักจะเป็นกฎหมายควบคุมผู้กระทำผิดที่มุ่งหวังทรัพย์สิน และศักดิ์ศรีของผู้อื่น บทลงโทษของกฎหมายแพ่งจึงมักจะเป็นการเรียกปรับ หรือสั่งให้ชดเชยค่าเสียหายให้แก่เจ้าทุกข์เป็นหลัก จะไม่มีการระวางโทษคุมขังจองจำ คดีแพ่งได้แก่ การยืมทรัพย์ ฉ้อโกง หลอกลวง มรดก เป็นต้นทีนี้ ถ้าจะแยกดูก็จะเห็นข้อแตกต่างของกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา ดังนี้
ความผิดทางอาญาเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดผลเสียหาย หรือเกิดความหวาดหวั่นคร้ามแก่บุคคลทั่วไป ความผิดทางอาญาส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นความผิดต่อแผ่นดินหรือประชาชนทั่วไป
ส่วนความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องระหว่างเอกชนต่อเอกชนด้วยกัน ไม่มีผลเสียหายต่อสังคมแต่อย่างใด
กฎหมาย อาญานั้นมีวัตถุประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิด ฉะนั้น หากผู้ทำผิดตายลง การสืบสวนสอบสวน การฟ้องร้อง หรือการลงโทษก็เป็นอันระงับลงไป
ส่วน ความผิดทางแพ่งเป็นเรื่องการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายซึ่งเป็นเรื่อง เกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล ดังนั้น เมื่อผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดตายลง ผู้เสียหายย่อมฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่าง ๆ จากกองมรดกของผู้กระทำผิดหรือผู้ละเมิดได้ เว้นแต่จะเป็นหนี้เฉพาะตัวเช่น แดงจ้างดำวาดรูป ต่อมาดำตายลง ถือว่าหนี้ระงับลงความ รับผิดทางอาญาถือเจตนาเป็นใหญ่ในการกำหนดโทษ เนื่องจากการกระทำผิดดังที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 บัญญัติว่า “บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำ โดยไม่มีเจตนา...”
ส่วนความรับผิดทางแพ่งนั้น ไม่ว่ากระทำโดยเจตนาหรือประมาทผู้กระทำก็ต้องรับผิดทั้งนั้นกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด ถ้าไม่มีกฎหมายย่อมไม่มีความผิดและไม่มีโทษ เพราะกฎหมายอาญามีโทษรุนแรงแต่ กฎหมายแพ่ง หลักเรื่องตีความโดยเคร่งครัดไม่มี กฎหมายแพ่งต้องตีความตามตัวอักษรหรือตามเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นั้น ๆ ดังนั้น การที่จะเป้นความผิดทางแพ่งนั้น ศาลอาจตีความขยายได้ความรับผิดทางอาญานั้น โทษที่จะลงแก่ตัวผู้กระทำผิดถึงโทษประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สินส่วนทางกฎหมายแพ่งนั้นไม่มีโทษ เป็นเพียงถูกบังคับให้ชำระหนี้หรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความ ผิดทางอาญาส่วนใหญ่ไม่อาจยอมความได้ เว้นแต่ความผิดต่อส่วนตัวหรือที่กฎหมายอาญาบัญญัติไว้ ความผิดอันยอมความได้เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดฐานยักยอก เป็นต้น เหตุผลก็คือ ความผิดทางอาญาถือว่าทำความเสียหายให้แก่มหาชน ทำลายความสงบสุขของบ้านเมือง ผู้เสียหายจึงไม่อาจยกเว้นความรับผิดให้ได้
ส่วนความผิดทางแพ่ง ผู้เสียหายอาจยกเว้นความรับผิดให้ได้โดยไม่นำคดีขึ้นฟ้องร้องต่อศาล หรือเรียกร้องหนี้สินแต่อย่างใดเลยความ ผิดในทางอาญา บุคคลที่ร่วมกระทำผิดอาจมีความรับผิดมากน้อยต่างกันตามลักษณะของการเข้าร่วม เช่น ถ้าเป็นผู้ลงมือกระทำผิดก็ถือเป็นตัวการ ถ้าเพียงแต่ยุยงหรือช่วยเหลือก็อาจผิดเพียงฐานะผู้สนับสนุนส่วน ความผิดทางแพ่ง ผู้ที่ร่วมกันก่อหนี้ร่วมกันทำผิดสัญญาหรือร่วมกันทำละเมิดตลอดทั้งยุยงหรือ ช่วยเหลือ จะต้องร่วมกับรับผิดต่อเจ้าหนี้หรือผู้ได้รับความเสียหายเหมือนกันหมดความ รับผิดทางอาญา การลงโทษผู้กระทำผิดก็เพื่อที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแต่ชุมชนเป็น ส่วนรวม เพื่อให้ผู้กระทำผิดเกิดความหลาบจำและกลับตัวกลับใจเป็นคนดี อีกทั้งเพื่อป้องกันผู้อื่นมิให้เอาเยี่ยงอย่างส่วน ความรับผิดทางแพ่ง กฎหมายมีวัตถุประสงค์ที่จะบำบัดความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่เอกชนคนหนึ่งคนใด โดยเฉพาะ ซึ่งอาจได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน ความเสียหายได้เกิดขึ้นอย่างใด กฎหมายก็ต้องการที่จะให้เขาได้รับการชดใช้ในความเสียหายอย่างนั้น ถ้าทำให้คืนสภาพเดิมไม่ได้ก็พยายามจะให้ใกล้เคียงมากที่สุดแต่ไม่ว่าจะแตกต่างกันอย่างไร จะผิดทางแพ่ง หรือผิดทางอาญา เชื่อว่า..ไม่มีใครอยากมีคดีความ ไม่ว่าจะแพ่งหรืออาญาก็ตาม





11/2/54

ก้าวทันลกศึกษา 2 หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

กฎหมายหลักที่ใช้ปกครองประเทศ



-ปัญหาการใช้กฎหมาย ความจำเป็นที่จะต้องรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญ
รัฐ ธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศและถือเป็นแม่บทของกฎหมาย ต่างๆ ถ้ากฎหมาย ใดขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญกฎหมายนั้นจะใช้บังคับไม่ได้เมื่อกล่าวถึงรัฐ ธรรมนูญจะเกี่ยวข้องกับเรื่องรูปแบบการปกครอง ประมุขของประเทศ อำนาจอธิปไตย และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ได้กำหนดรูปแบบให้ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ใช้เป็นสหพันธรัฐ สาธารณรัฐ หรือสมาพันธรัฐให้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข อำนาจอธิปไตยอันเป็นอำนาจสูงสุดของรัฐแบ่งเป็น 3 ส่วนคืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ อำนาจอธิปไตยดังกล่าวเป็นของปวงชนชาวไทย โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย กล่าวคือ ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล นอกจากนี้รัฐธรรมนูญยังมีบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนอย่างเสมอภาคกัน

หลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
หลักการของรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือ
1. ให้ความคุ้มครองศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ตลอดจนเพิ่มสิทธิและเสรีภาพใหม่ ให้แก่ประชาชน
2. ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ สามารถถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเสนอกฎหมายได้
3. ปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ และสร้างองค์กรเพื่อควบคุม ตรวจสอบ และถ่วงดุลการใช้อำนาจ

สิทธิและเสรีภาพและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
สิทธิ (Right) หมายถึง ประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้
เสรีภาพ (Liberty) หมายถึง ความมีอิสระที่จะกระทำหรืองดเว้นกระทำการ ถ้าเสรีภาพใดมีกฎหมายรองรับ เสรีภาพก็อาจกลายเป็นสิทธิได้ จึงมักเรียกรวม ๆ กันว่า สิทธิและเสรีภาพ
หน้าที่ (Obligation) หมายถึง สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้กระทำหรืองดเว้นกระทำ เมื่อมีสิทธิแล้วจะมีหน้าที่ควบคู่ไปด้วยเสมอ

สิทธิและเสรีภาพของพลเมืองไทย
1. สิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เช่น ห้ามทรมาน ทารุนกรรม หรือลงโทษด้วยวิธีโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม
2. สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว รัฐธรรมนูญห้ามกล่าวหรือเผยแพร่ข้อความ หรือภาพไปสู่สาธารชน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว เช่น แอบถ่ายภาพผู้อื่นขณะอยู่ในบ้านแล้วนำไปพิมพ์จำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต
3. เสรีภาพในเคหสถาน บ้านเป็นสถานที่อยู่อาศัยสามารถอยู่อย่างสงบสุข ปราศจากสิ่งใด ๆ มารบกวน แม้แต่อำนาจของรัฐ ผู้อื่นจะเข้าไปภายในบ้านโดยผู้อาศัยในบ้านไม่ยินยอมไม่ได้
4. เสรีภาพในการเดินทาง และเลือกถิ่นที่อยู่ ประชาชนมีสิทธิเดินทางไปที่ใด หรือตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดในราชอาณาจักรก็ได้ และจะเนรเทศผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ได้ อย่างไรก็ดีอาจออกกฎหมายเฉพาะจำกัดเสรีภาพนี้
5. เสรีภาพในการสื่อสาร รัฐธรรมนูญคุ้มครองการติดต่อสื่อสารถึงกันโดยที่คนอื่นไม่อาจล่วงรู้ข้อความ ได้ ดังนั้นจึงห้ามตรวจ กัก เปิดเผยสิ่งสื่อสารที่มีผู้ติดต่อถึงกันหรือทำวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้รู้ข้อความ เช่น เจ้าหน้าที่ของรัฐจะอ่านจดหมายที่ประชาชนส่งถึงกันหรือดักฟังโทรศัพท์ไม่ได้ เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะอนุญาตให้ทำได้
6. เสรีภาพในการถือศาสนา พลเมืองไทยมีเสรีภาพที่จะนับถือศาสนาใดก็ได้ แม้เป็นเพียงนิกาย หรือลัทธินิยมในทางศาสนา
7. สิทธิในการไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน รัฐธรรมนูญห้ามเกณฑ์แรงงานประชาชนไปขุดคลองหรือก่อสร้าง เว้นแต่มีกฎหมายเฉพาะให้อำนาจไว้ เช่น ป้องกันภัยพิบัติสาธารณะที่เกิดขึ้นอย่างฉุกเฉิน หรือประเทศอยู่ในภาวะสงคราม
8. เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าโดยการพูด หรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
9. เสรีภาพในทางวิชาการ รัฐธรรมนูญส่งเสริมทางทำงานวิชาการโดยคุ้มครองการศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย หรือการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองดีหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
10. เสรีภาพในการชุมชน การชุมนุมที่กระทำได้ต้องเป็นการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ
11. เสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม ประชาชนสามารถรวมกลุ่มกันได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ตามที่ต้องการเช่น รวมตัวกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ กลุ่มเกษตรกร องค์กรเอกชนหรือหมู่คณะอื่น ๆ
12. เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง การรวมกลุ่มของประชาชนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองตรงกัน อาจออกมาในรูปของการจัดตั้งพรรคการเมือง เพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันและดำเนินกิจการทางการเมืองให้เป็นไป ตามเจตนารมณ์นั้น
13. สิทธิต่อต้านการยึดอำนาจ การธำรงรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตย อาจต้องใช้วิธีต่อต้านการยึดอำนาจในการปกครองประเทศด้วยวิธีการที่ไม่เป็นไป ตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ เช่น การใช้กำลังปฏิวัติรัฐประหาร รัฐธรรมนูญกำหนดว่าการต่อต้านต้องทำโดยสันติวิธี
14. สิทธิในทรัพย์สิน มนุษย์จำเป็นต้องหาทรัพย์สินเงินทอง และเก็บไว้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของตน หากทรัพย์ที่อุตส่าห์หามาได้ด้วยความเหนื่อยยาก ต้องถูกผู้อื่นฉกฉวยเอาไป ย่อมไม่เป็นธรรมต่อเขา รัฐธรรมนูญจึงคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน และการตกทอดของทรัพย์สินไปยังทายาท
15. เสรีภาพในการประกอบอาชีพ บุคคลสามารถประกอบกิจการ หรือประกอบอาชีพใดก็ได้โดยมีกติกาคือให้แข่งขันกันโดยเสรีและเป็นธรรม เสรีภาพดังกล่าวอาจถูกจำกัดหากมีกฎหมายเฉพาะให้ทำได้ เช่น ไปประกอบอาชีพที่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือความมั่นคงหรือเศรษฐกิจของประเทศเป็นต้น
16. สิทธิในการได้รับการศึกษา ประชาชนมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี รัฐบาลต้องจัดให้มีโรงเรียนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายจาก ผู้เรียน นอกจากนี้การจัดการศึกษาต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเอกชนมีส่วน ร่วมด้วย
17. สิทธิที่จะได้รับบริการทางสาธารณสุข ประชาชนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลที่ได้มาตรฐาน การบริการสาธารณสุขของรัฐต้องทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้คนยากจนมีสิทธิได้รับบริการรักษาพยาบาลจากรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
18. สิทธิในการมีส่วนร่วมคุ้มครองสิ่งแวดล้อม การดูแลสิ่งแวดล้อมให้ได้ผลจำต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชน รัฐธรรมนูญให้โอกาสประชาชนสามารถมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน ในการบำรุงรักษา และได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการคุ้มครอง ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
19. สิทธิในฐานะเป็นผู้บริโภค เพื่อให้ประชาชนได้บริโภค หรือใช้สินค้าที่ปลอดภัยมีคุณภาพ และไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้า รัฐธรรมนูญจึงคุ้มครองประชาชนในฐานะผู้บริโภค รวมทั้งให้สร้างองค์กรอิสระที่เป็นตัวแทนผู้บริโภค
20. สิทธิในการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร การที่ประชาชนจะติดตาม ตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างได้ผลนั้นประชาชนต้องมีข้อมูลที่ ครบถ้วนข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองของหน่วยงานของรัฐต้องเปิดเผยต่อสารธร ณชนและประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลนั้นได้
21. สิทธิเกี่ยวกับการกระทำทางการปกครอง ในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ การออกคำสั่งหรือการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อาจกระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ รัฐธรรมนูญจึงกำหนดให้บุคคลนั้นมีสิทธิ มีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐ เมื่อมีการปฏิบัติราชการทางปกครอง มีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ๆ








สิทธิและเสรีภาพสำหรับบุคคลบางจำพวก
นอกเหนือจากสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองไทยทุกคนแล้ว รัฐธรรมนูญยังคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มคนบางจำพวก ดังต่อไปนี้
1. สื่อมวลชน
รัฐ ธรรมนูญป้องกันการริดรอนเสรีภาพในการเสนอข่าวสารของสื่อสารมวลชน จึงห้ามสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุ หรือสถานีโทรทัศน์ และห้ามการเซ็นเซอร์ข่าว หรือการส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจข่าวก่อนเผยแพร่เว้นแต่กระทำในระหว่างประเทศ อยู่ในภาวะสงครามหรือการรบและต้องอาศัยอำนาจของกฎหมาย
พนักงานหรือ ลูกจ้างในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ทั้งภาครัฐและเอกชนมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็น โดยไม่ตกอยู่ใต้อาณัติของหน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าของกิจการ แต่ต้องไม่ขัดกับจรรยาบรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญถือ ว่า “คลื่นความถี่” ที่ใช้ในการส่งวิทยุ โทรทัศน์ วิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เพื่อประโยชน์สาธารณะจึงกำหนดให้มีองค์กรอิสระในการจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์โทรคมนาคม
2. เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว
รัฐ ธรรมนูญให้ความคุ้มครองเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว ให้พ้นจากการใช้ความรุนแรง และการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม เช่น การที่สามีใช้กำลังทุบทำร้ายภรรยาและบุตร หรือบิดามารดาล่ามโซ่บุตรที่วิกลจริต
สำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาจากรัฐ
3. บุคคลสูงอายุ
บุคคลซึ่งอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐ
4. ผู้พิการ
คน พิการ หรือทุพพลภาพ ถือเป็นผู้ด้อยโอกาสรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอัน เป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ
5. เจ้าหน้าที่ของรัฐ
ทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ พนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การของรัฐ มีสิทธิและเสรีภาพเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ถูกจำกัดโดยกฎหมายเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจรรยาบรรณ
6. บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญา
บุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีอาญามีทั้งผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย ผู้ต้องหาที่ถูกนำตัวฟ้องศาลแล้ว พยานที่ไปให้การต่อศาลและถู กคุมขัง


พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
มาตรา ๗ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ดังนี้
(๑) สำนักนายกรัฐมนตรี
(๒) กระทรวง หรือทบวงซึ่งมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง
(๓) ทบวง ซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
(๔) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัด หรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงหรือทบวง
สำนักนายกรัฐมนตรีมีฐานะเป็นกระทรวง
ส่วนราชการตาม (๑) (๒) (๓) และ (๔) มีฐานะเป็นนิติบุคคล
มาตรา ๘* การจัดตั้ง การรวม หรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็น พระราชบัญญัติ
การจัดตั้งทบวงโดยให้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง ให้ระบุการสังกัด ไว้ในพระราชบัญญัติด้วย
การ จัดตั้งกรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ซึ่งไม่สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ให้ระบุการไม่สังกัดไว้ในพระราชบัญญัติด้วย
*[มาตรา ๘ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓]
มาตรา ๘ ทวิ* การรวมหรือการโอนส่วนราชการตามมาตรา ๗ ไม่ว่าจะมีผล เป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ ถ้าไม่มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการ หรือลูกจ้างเพิ่มขึ้นให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่ง ให้ระบุอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ การโอน อำนาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ซึ่งส่วนราชการหรือเจ้าพนักงานที่มีอยู่เดิม การโอน ข้าราชการและลูกจ้าง งบประมาณรายจ่าย รวมทั้งทรัพย์สินและหนี้สินเอาไว้ด้วย แล้วแต่กรณี
ให้ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนักงบประมาณมีหน้าที่ ตรวจสอบดูแลมิให้มีการกำหนดตำแหน่งหรืออัตราของข้าราชการหรือลูกจ้างของส่วน ราชการ ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ หรือที่ถูกรวมหรือโอนไปตามวรรคหนึ่ง เพิ่มขึ้นจนกว่าจะครบกำหนดสามปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๘ ตรี* การเปลี่ยนชื่อส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็นพระราช กฤษฎีกา และในกรณีที่ชื่อตำแหน่งของข้าราชการในส่วนราชการนั้นเปลี่ยนไปให้ระบุการ เปลี่ยนชื่อ ไว้ในพระราชกฤษฎีกาด้วย
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติ ท้องถิ่นอื่น ประกาศ หรือคำสั่งใดที่อ้างถึงส่วนราชการหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ได้ถูกเปลี่ยน ชื่อ ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เทศบัญญัติหรือข้อบัญญัติ ท้องถิ่นอื่น ประกาศหรือคำสั่งนั้นอ้างถึงส่วนราชการหรือตำแหน่งของข้าราชการที่ได้ เปลี่ยนชื่อนั้น
มาตรา ๘ จัตวา* การยุบส่วนราชการตามมาตรา ๗ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
เมื่อ มีพระราชกฤษฎีกายุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้งบประมาณรายจ่าย ที่เหลืออยู่ของส่วนราชการนั้นเป็นอันระงับไป สำหรับทรัพย์สินอื่นของส่วนราชการนั้นให้โอน ให้แก่ส่วนราชการอื่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามที่รัฐมนตรีซึ่งเป็นผู้รักษาการตามพระราช กฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี สำหรับวิธีการจัดการกิจการ สิทธิและหนี้สินของส่วนราชการนั้นให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
ข้า ราชการหรือลูกจ้างซึ่งต้องพ้นจากราชการเพราะเหตุยุบตำแหน่ง อันเนื่อง มาแต่การยุบส่วนราชการตามวรรคหนึ่ง นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับตามกฎหมายหรือ ระเบียบข้อบังคับอื่นแล้ว ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างได้รับเงินชดเชยตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ในพระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งด้วย
ในกรณีที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐประสงค์จะรับโอน ข้าราชการหรือลูกจ้างตามวรรคสามก็ให้กระทำได้โดยมิให้ถือว่าข้าราชการหรือ ลูกจ้างผู้นั้น ได้พ้นจากราชการตามวรรคสาม แต่ทั้งนี้ต้องกระทำภายในสามสิบวันนับแต่พระราชกฤษฎีกา ตามวรรคหนึ่งมีผลใช้บังคับ
มาตรา ๘ เบญจ* พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา ๘ ทวิ หรือมาตรา ๘ จัตวา ที่มีผล เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จัดตั้งส่วนราชการ กฎหมายว่าด้วย การปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตามมาตรา ๒๓๐ วรรคห้า ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้ระบุให้ชัดเจนในพระราชกฤษฎีกาว่าบทบัญญัติใดถูกแก้ไข เพิ่มเติมหรือยกเลิกเป็นประการใดในกฎหมายนั้น
มาตรา ๘ ฉ* การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานรัฐมนตรี กรม หรือ ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ให้ออกเป็นกฎกระทรวงและให้ระบุอำนาจหน้าที่ ของแต่ละส่วนราชการไว้ในกฎกระทรวงด้วย
ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วน ราชการตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ออกกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการดังกล่าว กฎกระทรวงนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
*[มาตรา ๘ ฉ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕]
มาตรา ๘ สัตต* ให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนและสำนัก งบประมาณร่วมกันเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการแบ่งส่วนราชการภายในและใน การกำหนด อำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนราชการตามมาตรา ๘ ฉ ในการเสนอความเห็นดังกล่าวให้สำนักงาน คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนจัดอัตรากำลัง และสำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณ ให้สอดคล้องเสนอไปในคราวเดียวกัน
มาตรา ๘ อัฏฐ* การแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันในทบวง มหาวิทยาลัยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยมหาวิทยาลัยหรือสถาบันนั้น
*[มาตรา ๘ ทวิ มาตรา ๘ ตรี มาตรา ๘ จัตวา มาตรา ๘ เบญจ มาตรา ๘ ฉ มาตรา ๘ สัตต และมาตรา ๘ อัฎฐ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓]

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
มาตรา ๕๑ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดังนี้
(๑) จังหวัด
(๒) อำเภอ
-จังหวัด
มาตรา ๕๒ ให้รวมท้องที่หลาย ๆ อำเภอตั้งขึ้นเป็นจังหวัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล
การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ
มาตรา ๕๓ ในจังหวัดหนึ่งให้มีคณะกรมการจังหวัดทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้น และให้ความเห็นชอบในการ จัดทำแผนพัฒนาจังหวัด กับปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายหรือมติของคณะรัฐมนตรีกำหนด
คณะกรมการ จังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัด ซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด หรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณี และหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจาก กระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดกระทรวงหรือ ทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและ เลขานุการ
ถ้ากระทรวง หรือทบวงมีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกรมต่าง ๆ ในกระทรวงหรือทบวงนั้นส่งมาประจำอยู่ในจังหวัดมากกว่าหนึ่งคน ให้ปลัดกระทรวงหรือ ปลัดทบวงกำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดหนึ่งคนเป็นผู้แทนของกระทรวง หรือ ทบวงในคณะกรมการจังหวัด
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นสมควรจะ แต่งตั้งให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วน ภูมิภาคคนหนึ่งหรือ หลายคนเป็นกรมการจังหวัดเพิ่มขึ้นเฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่งก็ ได้
มาตรา ๕๔ ในจังหวัดหนึ่ง ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดคนหนึ่งเป็นผู้รับ นโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชน และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดา ข้าราชการฝ่ายบริหาร ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในราชการส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการจังหวัดและอำเภอ และจะให้มีรองผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือทั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ช่วย สั่งและปฏิบัติราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
รองผู้ว่าราชการ จังหวัดหรือผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชา ข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัด และรับผิดชอบในราชการรองจากผู้ว่าราชการ จังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด รองผู้ว่าราชการจังหวัด และผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด สังกัดกระทรวงมหาดไทย
มาตรา ๕๕ ในจังหวัดหนึ่ง นอกจากจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น หัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของจังหวัดดังกล่าว ในมาตรา ๕๔ ให้มีปลัดจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจำทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการ ฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในจังหวัดนั้น
มาตรา ๕๖ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจ ปฏิบัติราชการได้ ให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่า ราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รักษา ราชการ แทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ให้ ปลัดจังหวัดเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้ามีรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือ ปลัดจังหวัดหลายคน ให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด หรือปลัดจังหวัดคนใดคนหนึ่ง แล้วแต่กรณี เป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีทั้งผู้ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด และปลัดจังหวัด หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้ หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งมีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นผู้รักษา ราชการแทน




มาตรา ๕๗ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือ ตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ตรวจราชการกระทรวง ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของ คณะรัฐมนตรีหรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
(๔) กำกับดูแลการปฏิบัติราชการอันมิใช่ราชการส่วนภูมิภาคของ ข้าราชการซึ่งประจำอยู่ในจังหวัดนั้น ยกเว้นข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการ ฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินและ ข้าราชการครู ให้ปฏิบัติราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับหรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม หรือมติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี หรือยับยั้งการกระทำใด ๆ ของข้าราชการในจังหวัดที่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรีไว้ชั่วคราวแล้วรายงานกระทรวง ทบวง กรม ที่เกี่ยวข้อง
(๕) ประสานงานและร่วมมือกับข้าราชการทหาร ข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการในสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน และข้าราชการครู ผู้ตรวจราชการและหัวหน้าส่วนราชการในระดับเขตหรือภาค ในการพัฒนา จังหวัดหรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ
(๖) เสนองบประมาณต่อกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามโครงการหรือแผนพัฒนา จังหวัด และรายงานให้กระทรวงมหาดไทยทราบ
(๗) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดตามกฎหมาย
(๘) กำกับการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานองค์การของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ในการนี้ให้มีอำนาจทำรายงานหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของ องค์การของ รัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดองค์การของรัฐบาลหรือรัฐ วิสาหกิจ
(๙) บรรจุ แต่งตั้ง ให้บำเหน็จ และลงโทษข้าราชการส่วนภูมิภาคในจังหวัด ตามกฎหมาย และตามที่ปลัดกระทรวง ปลัดทบวง หรืออธิบดีมอบหมาย
มาตรา ๕๘ การยกเว้น จำกัด หรือตัดทอน อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการในจังหวัด หรือให้ข้าราชการของส่วนราชการใดมีอำนาจหน้าที่ ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาคเช่นเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัดจะกระทำได้โดย ตราเป็น พระราชบัญญัติ
มาตรา ๕๙ ให้นำความในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่ ผู้รักษาราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทนตามหมวดนี้
มาตรา ๖๐ ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัดดังนี้
(๑) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนา จังหวัดของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(๒) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการ ของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับ บัญชารับผิดชอบ
- อำเภอ
มาตรา ๖๑ ในจังหวัดหนึ่งให้มีหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัดเรียกว่า อำเภอ
การตั้ง ยุบ และเปลี่ยนเขตอำเภอ ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
มาตรา ๖๒ ในอำเภอหนึ่ง มีนายอำเภอคนหนึ่งเป็นหัวหน้าปกครอง บังคับบัญชาบรรดาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบงานบริหารราชการของอำเภอ
นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย
บรรดา อำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกรมการอำเภอหรือ นายอำเภอซึ่งกฎหมายกำหนดให้กรมการอำเภอและนายอำเภอมีอยู่ ให้โอนไปเป็นอำนาจและ หน้าที่ของนายอำเภอ
มาตรา ๖๓ ในอำเภอหนึ่ง นอกจากจะมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง บังคับบัญชาและรับผิดชอบดังกล่าวในมาตรา ๖๒ ให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการ ประจำอำเภอซึ่งกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ นายอำเภอ และมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายบริหารส่วนภูมิภาคซึ่งสังกัดกระทรวง ทบวง กรมนั้น ในอำเภอนั้น
มาตรา ๖๔ ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอ ให้ผู้ว่าราชการ จังหวัดแต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโส ตามระเบียบแบบแผน ของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ถ้ามีผู้ดำรง ตำแหน่งนายอำเภอ แต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้นายอำเภอ แต่งตั้งปลัดอำเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตามระเบียบแบบแผนของ ทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนาย อำเภอมิได้แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทน ไว้ตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้ปลัดอำเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอผู้มีอาวุโสตาม ระเบียบแบบแผนของทางราชการเป็นผู้รักษาราชการแทน
มาตรา ๖๕ นายอำเภอมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
(๑) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ ถ้ากฎหมายใดมิได้บัญญัติว่าการปฏิบัติตามกฎหมายนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ใดโดย เฉพาะ ให้เป็น หน้าที่ของนายอำเภอที่จะต้องรักษาการให้เป็นไปตามกฎหมายนั้นด้วย
(๒) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมาย หรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการในฐานะหัวหน้ารัฐบาล
(๓) บริหารราชการตามคำแนะนำและคำชี้แจงของผู้ว่าราชการจังหวัดและ ผู้มีหน้าที่ตรวจการอื่นซึ่งคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ในเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือคำสั่งของกระทรวง ทบวง กรม มติของคณะรัฐมนตรี หรือการสั่งการของนายกรัฐมนตรี
(๔) ควบคุมดูแลการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในอำเภอตามกฎหมาย
มาตรา ๖๖ ให้แบ่งส่วนราชการของอำเภอดังนี้
(๑) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(๒) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับ ราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครอง บังคับบัญชารับผิดชอบ
มาตรา ๖๗ ให้นำความในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ มาใช้บังคับแก่ ผู้รักษาราชการแทนและผู้ปฏิบัติราชการแทนตามหมวดนี้
มาตรา ๖๘ การจัดการปกครองอำเภอ นอกจากที่ได้บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่

การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๖๙ ท้องถิ่นใดที่เห็นสมควรจัดให้ราษฎรมีส่วนในการปกครอง ท้องถิ่นให้จัดระเบียบการปกครองเป็นราชการส่วนท้องถิ่น
มาตรา ๗๐ ให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้
(๑) องค์การบริหารส่วนจังหวัด
(๒) เทศบาล
(๓) สุขาภิบาล
(๔) ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด
มาตรา ๗๑ การจัดระเบียบการปกครององค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล และราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ว่าด้วยการนั้น

ปัญหาการใช้กฎหมาย ความจำเป็นที่จะต้องรู้และปฏิบัติตนตามกฎหมาย
มนุษย์ เป็นสัตว์สังคมอยู่ร่วมกันเป็นหมู่ เป็นเหล่า ความเจริญของสังคมมนุษย์นั้นยิ่งทำให้สังคมมีความ สลับซับซ้อน ตามสัญชาตญาณของมนุษย์แล้ว ย่อมชอบที่จะกระทำสิ่งใด ๆ ตามใจชอบ ถ้าหากไม่มีการ ควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์แล้ว มนุษย์ก็จะกระทำในสิ่งที่เกินขอบเขต ยิ่งสังคมเจริญขึ้นเพียงใด วามจำเป็น ที่จะต้องมีมาตรฐานในการกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ที่จะต้องถือว่าเป็นมาตรฐานอันเดียวกันนั้นก็ยิ่งมี มากขึ้น เพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไปแก่ทุกคนในลักษณะของกฎเกณฑ์และข้อบังคับต่าง ๆ ซึ่งจะกำหนด วิถีทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตาย กฎเกณฑ์และข้อบังคับหรือวิธีการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์มีการพัฒนา และมีวิวัฒนาการต่อไป อย่างไม่หยุดยั้ง ดังนั้นเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่ากฎหมายไม่มีความจำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเรา ในปัจจุบันนี้ กฎหมายได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเรามาก ตั้งแต่เราเกิดก็จะต้องแจ้งเกิดเพื่อขอสูติบัตร เมื่ออายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ ก็ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชน จะสมรสกันก็ต้องจดทะเบียนสมรสจึงจะ สมบูรณ์และในระหว่างเป็นสามี ภรรยากันกฎหมายก็ยังเข้ามาเกี่ยวข้องไปถึงวงศาคณาญาติอีกหรือจน ตายก็ต้องมีใบตาย เรียกว่าใบมรณะบัตร และก็ยังมีการจัดการมรดกซึ่งกฎหมายก็ต้องเข้ามาเกี่ยวข้อง เสมอนอกจากนี้ในชีวิตประจำวันของคนเรายังมีความเกี่ยวข้องกับ ผู้อื่น เช่นไปตลาดก็มีการซื้อขายและ ต้องมี กฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องการซื้อขาย หรือการ ทำงานเป็นลูกจ้าง นายจ้างหรืออาจจะเป็น ข้าราชการก็ต้องมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลา และที่เกี่ยวข้องกับชาติบ้านเมืองก็เช่นกัน ประชาชนมีหน้าที่ต่อบ้านเมืองมากมาย เช่น การปฏิบัติตนตามกฎหมาย หน้าที่ในการเสียภาษีอากร หน้าที่รับราชการทหาร สำหรับชาวไทย กฎหมายต่าง ๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องก็มีมากมายหลายฉบัย เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายแรงงาน กฎหมายภาษีอากร กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา "คนไม่รู้ กฎหมายไม่เป็นข้อแก้ตัว" เป็นหลักที่ว่า บุคคลใดจะแก้ตัวว่าไม่รู้กฎหมายเพื่อให้หลุดพ้นจากความผิด ตามกฎหมายมิได้ ทั้งนี้ ถ้าหากต่างคนต่างอ้างว่าตนไม่รู้กฎหมายที่ทำไปนั้น ตนไม่รู้จริง ๆ เมื่อกล่าวอ้าง อย่างนี้คนทำผิดก็คงจะรอดตัว ไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องรับโทษกัน ก็จะเป็นการปิดหูปิดตาไม่อยากรู้กฎหมาย และถ้าใครรู้กฎหมายก็จะต้องมีความผิด รู้มากผิดมากรู้น้อยผิดน้อย ต่จะอ้างเช่นนี้ไม่ได้เพราะถือว่าเป็น หลักเกณฑ์ของสังคมที่ประชาชนจะต้องมีความรู้ เรียนรู้กฎหมาย เพื่อขจัดข้อปัญหาการขัดแย้ง ความ ไม่เข้าใจกัน ด้วยวิธีการที่เรียกว่า กฎเกณฑ์อันเดียวกันนั้นก็คือ กฎหมาย นั่นเอง